จากกิจกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เมื่อวันที่ เมื่อวันที่ 28 – 29 มกราคม 2559 ซึ่งบรรยายโดย คุณศิริวิช ดโนทัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผน เชี่ยวชาญ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เราสามารถนำกระบวนการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์มาใช้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของส่วนงาน แผนกงาน หรือในแต่ละงานที่ได้รับมอบหมาย เช่นยุทธศาสตร์งานตารางเรียนตารางสอน ยุทธศาสตร์งานแผนหลักสูตร ยุทธศาสตร์การกำกับมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา โดยใช้กระบวนการเดียวกันกับกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีกระบวนการดังต่อไปนี้
งานที่จะวิเคราะห์/พัฒนาจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนยุทธศาสตร์ของงานมาทำการวิเคราะห์ศักยภาพ (SWOT Analysis) กำหนดค่าคะแนนแยกตามจุดแข็ง...
อ่านต่อ

จากการเข้าร่วมโครงการการทวนสอบรายวิชาและการประเมินหลักสูตร เมือวันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม 2558 ณ ห้องข้าวหอมมะลิ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
ประเด็นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร จะต้องดำเนินการในการปฏิบัติตามแนวทางที่มหาวิทยาลัยกำหนดในเรื่องของการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา โดยจะต้องสร้างความรู้ความเข้าใจกับอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ประจำหลักสูตร และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยแนวปฏิบัติในการจัดทำการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา มีระบบและกลไกดังนี้
๑) จะต้องกำหนดคณะกรรมการทวนสอบกลางของคณะ ซึ่งผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าร่วมในคณะกรรมการประกอบด้วย อาทิเช่น หัวหน้าภาค/ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตร...
อ่านต่อ
ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดให้สถานศึกษา กำหนดระบบการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของนักศึกษาให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการจัดการเรียนการสอน และกำหนดให้มีการประกันคุณภาพภายในของหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องทุกหลักสูตร ซึ่งรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) ในหมวดที่๗ การประกันคุณภาพหลักสูตร ข้อ๗ ตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงาน กำหนดตัวบ่งชี้ ข้อที่ 6 ระบุว่า มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ. 3 และมคอ. 4 (ถ้ามี) อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ จะเริ่มตั้งแต่ระดับรายวิชา โดยอาจารย์ผู้สอนเป็นผู้ดำเนินการ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้กำกับดูแลให้สารสนเทศของหลักสูตรกับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้เข้าใจถึงปรัชญา...
อ่านต่อ
บทความทางวิชาการ เป็นเอกสารทางวิชาการประเภทหนึ่ง ซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย ได้ให้คำจํากัดความ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งตําแหน่งทางวิชาการไว้ว่า เอกสารที่เรียบเรียงจากผลงาน ทางวิชาการของตนเอง หรือของผู้อื่นในลักษณะที่เป็นการวิเคราะห์ วิจารณ์ หรือเสนอแนวความคิดใหม่ๆ จากพื้นฐานทางวิชาการนั้นๆ” (ทบวงมหาวิทยาลัย, เอกสารอัดสําเนา) จากความหมายข้างต้นจึงอาจกล่าวได้ว่า บทความทางวิชาการมีวัตถุประสงค์ในการนําเสนอความรู้ความคิดใหม่ๆ รวมทั้งประสบการณ์ของผู้เขียนเกี่ยวกับเรี่องนั้นๆ บนพื้นฐานของวิชาการในเรื่องนั้นๆ หรืออาจจะเป็นการแสดงความคิดเห็นในเชิงวิเคราะห์ วิจารณ์ วิชาการในเรื่องนั้นๆ เพื่อนําเสนอแนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น...
อ่านต่อ