รูปแบบการอนุรักษ์และฟื้นฟูเรือใบพื้นบ้านเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
(RDG59S0014การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเชิงสาธารณะ ด้านการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์)
ปีพ.ศ. 2543 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร และกลุ่มแกนนำชุมชนในเขตอำเภอละแม จังหวัดชุมพรได้ร่วมมือกันฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นประเภทเรือใบพื้นบ้าน ซึ่งเรียกกันว่า “เรือใบโบราณ” ขึ้นจวบจนปัจจุบันมีการจัดตั้งชมรมให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้คนในชุมชนเกิดความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของตน และสามารถพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้และปฏิบัติการให้แก่เยาวชน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปจนกลายเป็นประเพณีประจำปีในงานเปิดโลกทะเลของอำเภอละแม จังหวัดชุมพรที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย...
อ่านต่อ

.gallery-item {width: 33%;}
//
การท่องเที่ยวโดยชุมชน: โอกาสของชุมชนและตลาดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(CBT: the global tourism trend)
โดย อ.วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนับได้ว่าเป็นพระเอกจากหลากหลายอุตสาหกรรม สามารถสร้างรายได้จำนวนมหาศาลเข้าประเทศแต่ละประเทศทั่วโลก ข้อมูลจาก UNWTO พบว่า รายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็น ร้อยละ 10 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลก หากสอบถามบุคคลจำนวน 11 คน จะพบว่า 1 ใน 11 คน ประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว รายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นเงินกว่า 1.5 ล้านล้านล้าน USD ทั้งนี้คิดเป็นร้อยละ 6 ของการส่งออกโลก และร้อยละ 30 ของการส่งออกโลกคือ การบริการ จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า...
อ่านต่อ

“งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” …เอ๊ะ… คืออะไร คำถามนี้มีคำตอบและคำตอบนี้เพื่อนักวิจัยรุ่นใหม่ ซึ่งเข้ามามีบทบาทในฐานะ “ปัญญา” ของชุมชน ช่วยเสริมสร้าง เติมเต็มองค์ความรู้แก่ชุมชน ให้สามารถแก้ไขข้อสงสัย ประเด็นคำถาม ปัญหา และความต้องการของชุมชน จนสามารถขับเคลื่อนหรือดำเนินกิจกรรมบางอย่างให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ “เครื่องมือ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) สรุปข้อมูลได้ดังนี้
แนวคิดงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
“งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น” มุ่งการเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้ “คน” ในชุมชนท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากงานวิจัยด้วยการเข้าร่วมกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน...
อ่านต่อ

การทำวิจัยท้องถิ่น เป็นกระบวนการวิจัยที่ฝึกให้นักวิจัยในท้องถิ่นทำวิจัย โดยมีนักวิชาการของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เป็นพี้เลี้ยง ทำงานร่วมกับท้องถิ่น เพื่อให้คนในท้องถิ่นสามารถเป็นนักวิจัย ในการนำกระบวนการวิจัยมาพัฒนาท้องถิ่น/ชุมชนได้
การสร้างทีมนักวิจัยท้องถิ่น จาก 6 โครงการ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร การพัฒนาคน แหล่งท่องเที่ยว ผ่านงานวิจัยท้องถิ่น การพัฒนาเครือข่าย การพัฒนาโจทย์วิจัยจากชุมชน หรือความต้องการของชุมชน ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชน
แต่เดิมเป็นกลุ่มจากภูผามหานที และพัฒนามาเป็นเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในปี 2552 ลักษณะการบริหารจัดการในการขับเคลื่อนชุมชน การเติมเต็มความรู้ในเวทีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเวทีการประชุมไปยังชุมชน...
อ่านต่อ

สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว โดยอาจารย์เบญจมาศ ณ ทองแก้ว และคณะ ได้ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ “เครื่องมือ งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.)
จากการร่วมพัฒนาตน และคนในท้องถิ่นครั้งนี้ พบว่าลักษณะสำคัญของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นงานที่มีคนในชุมชนท้องถิ่นร่วมเป็นนักวิจัยและร่วมในกระบวนการวิจัยเพื่อค้นคว้าหาคำตอบ กล่าวคือ เปิดโอกาสให้ชุมชนหรือคนในท้องถิ่นต้องร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมเรียนรู้ ร่วมวิเคราะห์ ร่วมตรวจสอบและแปลความหมาย รวมทั้งคาดว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงภายหลังการดำเนินการวิจัย โดยตอบที่ต้องค้นหาจะ “ เป็นเรื่องอะไรก็ได้ โจทย์อะไรก็ได้” ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร...
อ่านต่อ
ความงดงามของโลกใต้ท้องทะเลเปรียบเหมือนสิ่งเร้นลับที่ซ่อนเร้นและเย้ายวนให้ผู้คนที่สนใจหลงใหลอยากไปเที่ยวชม แม้จะยากลำบากด้วยข้อจำกัดทางธรรมชาติของมนุษย์ที่จะต้องปรับแก้ข้อจำกัด เช่น การหายใจใต้น้ำ แต่มนุษย์ก็สามารถเรียนรู้ พัฒนาอุปกรณ์เพื่อใช้ในการหายใจใต้น้ำได้ ทำให้กิจกรรมการดำน้ำเพื่อการกีฬาและการท่องเที่ยวเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันจำนวนผู้เจ็บป่วย เสียชีวิตหรือทุพพลภาพจากการดำน้ำก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จากสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำใต้ท้องทะเลมีธรรมชาติที่แตกต่างจากบนบก ที่มนุษย์คุ้นเคยกับการทำงานของอวัยวะตามปกติเมื่ออยู่บนบก ดังนั้นการทำงานของอวัยวะคนเราหลายอย่างผิดไปจากปกติเมื่ออยู่ใต้น้ำไม่ว่าจะเป็นการทรงตัว...
อ่านต่อ
การรังสรรค์งานวิจัยกับการพัฒนาชุมชนของนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว
สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว มีการพัฒนาด้านการเรียนการสอนในรายวิชาวิจัยทางการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ ที่มุ่งเน้นให้มีการรังสรรค์งานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชนและเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ให้งานวิจัยมีคุณค่าและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ที่ผ่านมาคณะอาจารย์และนักศึกษาได้มีการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา ซึ่งการนำเสนอผลงานวิจัย...
อ่านต่อ
การบริหารจัดการเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร เป็นกระบวนการร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร เพื่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่นโยบายทั้งในระดับพื้นที่ชุมชน เครือข่ายระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัด ดังนั้นองค์กรเครือข่ายฯ จึงต้องมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเพื่อบ่งชี้ให้เห็นถึงความสามารถและสถานภาพการดำเนินการขององค์กร อันจะนำไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเครือข่ายฯ และสามารถตัดสินทางเลือกในการบริหารจัดการองค์กร ตลอดจนการกำหนดนโยบาย และแผนงานให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ได้อย่างเหมาะสม โดยกระบวนการขับเคลื่อนเครือข่ายฯดำเนินการตามลำดับขั้นตอน...
อ่านต่อ

มหาวิทยาลัยแม่โจ้- ชุมพร ได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว ที่มุ่งเน้นการศึกษาด้านการวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน และมีการพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้นักศึกษาได้มีการปฏิบัติงานจริงมาโดยตลอด โดยเฉพาะการค้นคว้าข้อมูลเพื่อการศึกษาวิจัยด้านต่างๆ ที่มุ่งเน้นให้มีการรังสรรค์งานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชนและเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ให้งานวิจัยอันมีคุณค่าเหล่านี้ได้นำไปใช้ประโยชน์ ที่ผ่านมาคณะอาจารย์และนักศึกษาได้มีการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ. 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา
สำหรับรูปแบบการนำเสนอผลงานวิจัย...
อ่านต่อ