ความรู้หัวข้อ “ประกวดเขียนแผนธุรกิจ Leisure and Learning @ Doi Tung”
มูลนิธิยุทธสาร ณ นคร เพื่อสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์การสาธารณกุศล ที่ให้การสนับสนุนด้านการศึกษา ค้นคว้า และวิจัยวิชาการจัดการ เพื่อสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์สู่สังคม ได้จัดโครงการมอบทุนการศึกษา แก่นิสิต นักศึกษา เป็นเวลา 10 ปีแล้วและในปีการศึกษา 2557 มูลนิธิฯ ได้จัดโครงการฯ TMA สร้างนักบริหาร ดีและเก่ง ในหัวข้อ ประกวดเขียนแผนธุรกิจ Leisure and Learning @ Doi Tung โดยมุ่งหวังให้นิสิต นักศึกษาได้สร้างสรรค์การเขียนแผนธุรกิจที่เป็นธรรม ใช้การสื่อสารที่ทันสมัยโดยใช้ข้อมูลของโครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มาเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอประมาณ มีเหตุมีผล สามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว
ตามการจัดประชุมสัมมนาให้ความรู้หัวข้อ “ประกวดเขียนแผนธุรกิจ Leisure and Learning @ Doi Tung” ได้ดำเนินการจัดประชุมในหัวข้อดังนี้คือ Effective Business Plan, Sustainable Brand, Social Media for Marketing Your Business, การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อนำเสนอธุรกิจสำหรับคนรุ่นใหม่ ให้ได้ใจ และได้งาน, Effective Presentation Skills และการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนหน่วยธุรกิจการท่องเที่ยวดอยตุง
- Effective Business Plan
Business Plan ควรทำเป็น Road Map ควรเขียนแผนให้ตามความเป็นจริงและมีความเป็นไปได้ เล่าเรื่องทั้งหมดให้เป็น concept idea ได้ และเป็นการสนับสนุน Mission & Vision ที่เกี่ยวกับดอยตุง ซึ่งควรดูตามภารกิจสำคัญของดอยตุง ซึ่งประกอบด้วย
- วางแผน เพื่อทำแผน ศึกษาดูว่าลูกค้าจะได้อะไร
- ดูสภาพแวดล้อม กำหนดเป้าหมาย ใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์
- การวัดความสำเร็จ และจะใช้อะไรเป็นตัววัด
- ยุทธศาสตร์
- แผนปฏิบัติ
การเขียนแผน Business Plan
MISSION = โครงการนี้ทำเพื่ออะไร, ทำอะไร, ขายใคร เขียนขึ้นมาแล้วเป็น Product Market และสามารถอธิบาย Business Model ได้
VISION = Mission in the future เป็นเรื่องของผู้นำ / อนาคตของโมเดล
Goal = เป้าหมาย
Objective = วัตถุประสงค์
ตัวอย่างประกอบ
MISSION = ต้องการขายอาหารชาวโลก
VISION = ครัวโลก
Goal = เปิดร้านอาหารทั่วโลก
Objective = มีการกำหนดยุทธศาสตร์ เปิดเป็นธุรกิจ Franchise
– การกำหนดตัวชี้วัด ต้องรู้ว่าอะไรต้องกำหนด อะไรไม่ต้องกำหนดตัวชี้วัด และแผนสามารถปฏิบัติได้เป็นขั้นเป็นตอน
– แผนปฏิบัติการ ที่แยกเป็นฝ่ายงาน ตามรูปแบบขององค์การว่ามีกี่หน่วยงาน
– ภาคผนวก ใส่ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์ SWOT ฯลฯ
องค์ประกอบของแผนธุรกิจ
– บทสรุปผู้บริหาร
– วัตถุประสงค์
– แผนกลยุทธ์
– แผนปฏิบัติการ
ขั้นตอนการทำแผนธุรกิจ
พัฒนาวิสัยทัศน์
– อ่านแล้วต้องรู้ว่าจะทำอะไร ถ้าอ่านแล้วไม่รู้ว่าจะทำอะไรไม่ควรเขียนแผน
– มีตัวแปรอะไรที่จะส่งผลทำให้โครงการเกิดความล่าช้า
– เขียน Business Plan ให้เป็นขั้นตอนตาม Basic Elements of the Strategic Management Process
– KPI & KRI จะเป็นตัวควบคุมโครงการ/ต้องมีจริยธรรมด้วย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น CSR Project
- Sustainable Brand
การกำหนดแบรนด์ ควรสร้างให้เกิดความแตกต่าง ยกตัวอย่าง อาทิ
– หาโอกาสให้แชร์ได้ เช่น จัดมุมถ่ายภาพ เพราะสามารถประหยัดค่าโฆษณาได้ แต่ต้องระมัดระวังเพราะเรื่องแย่ๆ คนชอบแชร์
– ผู้บริโภคมีส่วนช่วยในการสร้างสรรค์สินค้าและแบรนด์ เช่น มาม่าคิดว่าเอามาทำอะไรก็อร่อย โดยผ่าน Facebook แต่ต้องอ้างอิงที่มาด้วย
– ต้องการแบรนด์ใส่ใจต่อโลก
– รักษาสุขภาพ หรือสนใจร่างกายตัวเอง
LOHAS = Lifestyle of Health and Sustainability เช่น
– ซื้อผัก มีรูปคนสวนอยู่ในแพคเกจของผักนั้นเลย
– การประเมินสินค้าและบริการ เช่น การประเมินมหาวิทยาลัยมีการเปรียบเทียบกัน
EXTRR = ไม่เหมือนใคร ต้องสร้างให้ได้ หาความสำคัญ (Keyword) ให้เจอ
กระบวนการสร้างแบรนด์
กำหนดเป้าหมาย = อะไรคือจุดยืนของสถานที่ของดอยตุง และสร้างบุคลิกของแบรนด์ แล้วมาดูว่าคนมาเที่ยวที่ดอยตุงจะได้อะไรตอบแทน
การพัฒนาอย่างยั่งยืน (การสร้างแบรนด์อย่างยั่งยืน)
ประกอบด้วย 3P (The triple bottom line: 3P)
1. Profit มีศักยภาพทางการตลาด
2. People รับผิดชอบต่อคนและสังคม ช่วยสร้างอาชีพ หารายได้
3. Planet รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน
โดยต้องเอา 4P ไว้ตรงกลาง (click list กับแผนที่เขียนไว้)
Product = สินค้าและบริการมีคุณภาพและคุณค่า มีจุดขายที่แข็งแรงเพียงพอ สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว
Price = กำหนดราคาที่เหมาะสม ยุติธรรม
Place = สถานที่จัดจำหน่ายเข้าถึงง่าย การจัดหน้าร้านสวยงาม น่าสนใจ
Promotion = การส่งเสริมการขายมีกลยุทธ์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีการส่งเสริมในระยะยาว
กลยุทธ์การสร้างแบรนดือย่างยั่งยืน (การสร้างแบรนด์อย่างพอเพียง)
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
รู้จักตน ประมาณตน = SWOT BRAND DNA
มีเหตุมีผล = Strategic Management
มีภูมิคุ้มกัน = Risk Management
มีความรู้ = Leaning Organization
มีคุณธรรม = Good Governance
- Social Media for Marketing Your Business
เราสามารถแบ่งประเภทของสื่อ Social Media ได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
สื่อที่เราสร้างขึ้นเอง (Owned Media) หมายถึง สื่อที่เจ้าของสร้างขึ้นเอง และสามารถควบคุมการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างทั่วถึง เช่น การพัฒนาเว็บไซต์ บล็อก Socialnetwork ของตนเอง หรือ การลงโฆษณาในสื่อต่างๆ (Paid Media) เพื่อใช้ช่องทางในการสื่อสารหลักกับลูกค้าเป้าหมาย
สื่อที่คนอื่นสร้างให้ (Earned Media) หมายถึง สื่อที่ลูกค้าภายนอกเป็นผู้สร้างขึ้นมา โดยพูดถึง สนับสนุนสินค้า ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ลูกค้ามีส่วนร่วมและพัฒนาภายใต้ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ถือเป็นช่องทางที่ให้ลูกค้าได้สร้างสรรค์และแสดงทัศนคติที่มีต่อสินค้าอย่างชัดเจน รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องด้วย บางครั้งการวางแผนและกระตุ้นให้ลูกค้าหรือคนอื่นๆ พูดถึงสินค้าไปในทางที่ดี ก็จะทำให้เกิดการบอกต่อไปยังคนหมู่มากได้ง่ายๆ ผ่านทาง Socialnetwork อย่าง Facebook, Twitter หรือ YouTube
Paid Media เป็นเครื่องมือที่นักการตลาดส่วนใหญ่เลือกใช้มากกว่าตัวอื่นๆ ข้อดีคือการใช้เงินแลกกับการรับรู้
- Effective Presentation Skills
การนำเสนอ คือการเล่าเรื่อง ทำตัวเหมือน Performing / นักแสดง เป็นการสื่อความคิดของผู้พูดไปยังผู้ฟัง (คำพูด น้ำเสียง ท่าทาง กล่าวคือ ศิลปะการพูด) นอกจากนี้กลุ่มคนฟังก็มีผลกับผู้ฟัง/ควรดูอายุผู้ฟังด้วย
– ท่าทางจะมีผลกับผู้ฟังมากที่สุดคือ 55%
– น้ำเสียง 38%
– คำพูด 7%
แนวการพูด
- บอกเล่า บรรยาย (80%) เล่าจากประสบการณ์ตัวเอง (ชวนคนอื่นคิดในมุมของเขาเอง ทำให้คนอื่นเข้าถึงแผนเรา
- พูดแบบชักชวน จูงใจ (10%) ให้คนทำตาม คล้อยตาม เห็นด้วยกับสิ่งที่เราพูดและปฏิบัติตาม ระวังเรื่องที่จะพูดด้วย เช่น ไม่ควรพูดเรื่องการเมือง
- การพูดแบบบันเทิง (10%) (แผนธุรกิจไม่เน้นการใช้การพูดแบบนี้) เพื่อสร้างความสนุกสนาน อารมณ์ขันพร้อมๆกับการให้สาระความรู้ ถึงเรียกว่าสาระบันเทิง
ขั้นตอนการนำเสนอ
1 : 3 คือการนำเสนอ 1 ชั่วโมง เตรียม 3 ชั่วโมง
4P คือ 1. Plan = วางแผน
2. Prepare = เตรียมตัว
3. Practice = ฝึกฝน
4. Present = นำเสนอ
1. ขั้นวางแผน
- Analog Planning ให้ใช้กระดาษ ปากกาเขียน อย่าใช้โน๊ตบุ๊ค สรุปให้ได้แล้วค่อยทำ ppt
2. การเตรียมตัว
– จัดการความประหม่า โดยจะบอกเรื่องความประทับใจครั้งแรก (1 นาทีแรกจะเป็นตัวบอกว่าจะไปรอดหรือไม่รอด)
– เร้าใจ (เริ่มต้น), เข้าใจ (เล่าให้โดน), ประทับใจ (จบให้เจ็บ)
เตรียมความพร้อม
– เสื้อผ้าสร้าง Unity ของตัวเอง
ข้อปฏิบัติในการแนะนำตัวเอง
– ใช้ 3-5 นาที
– อย่าพูดโอ้อวด แต่ต้องไม่ถ่อมตัวเกินไป
– ไม่ต้องขออภัย ไม่ต้องพูดถึงจุดอ่อน
Learner Type
– ถ้ามีผู้ฟังที่เป็น Believer อย่าไปพูดชักนำให้เค้าเชื่อ เพราะเค้าจะไม่เชื่อคุณ
– Explorer ถ้าเค้าอยากรู้เค้าจะถามเราเลย ถ้าเค้าลองภูมิให้เค้าถามไป ถ้าตอบไม่ได้อย่าตอบไปเรื่อย เช่น ถ้าตอบไม่ได้ ให้ขึ้นชาร์ตไว้ แล้วบอกว่าจะให้ผู้ที่มีความรู้มาตอบให้ทีหลัง แล้วนำเสนอของเราต่อ
– Challenger คนกลุ่มนี้ชอบเอาชนะ ใช้เทคนิคเดิม
– Prisoner คนกลุ่มนี้ไม่อยากฟัง แต่ถูกบังคับให้มาฟัง
– Joker ทำให้คนในห้องสนุก แต่จะทำให้ผู้ฟังเสียเวลา
– Vacationer มาฟังเหมือนเป็นการพักผ่อน
3. การฝึกฝน Keep Practice
3C – Conduct เริ่มให้เร้าใจ
- Content ต้องทำให้เข้าใจ
- Conclude สรุปต้องประทับใจ
– การทำสไลด์ ให้ใช้รูปภาพเข้าไปใช้ ให้สอดคล้องกับเนื้อหา
– การใช้สี ppt ให้เป็นแนวสีเดียวกัน ไม่ควรสีตัดกัน
– พูดเริ่มต้นด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ทำยังไงให้มีเงิน 1 ล้านบาท ภายใน 3 เดือน
– Content พูดยังไงให้เห็นภาพ น่าสนใจ ใกล้ตัว แปลกใหม่ เห็นประโยชน์ สร้างอารมณ์ร่วม มีหลักฐานตัวอย่างข้อมูลชัดเจน
– Conclude สรุปการนำเสนอทางธุรกิจ ต้องมีการสรุป ขมวดปม ให้ผู้ฟังนำไปคิดต่อ โยงกลับไม่สู้ตอนเปิด ถ้าสรุปไม่ได้ให้ตั้งเป็นคำถาม เช่น ถ้าโครงการนี้จะเกิดขึ้นแล้ว โลกของเราจะเป็นอย่างไร หรืออาจสรุปเป็นกลอนได้
4. การนำเสนอ
เคล็ดลับ 1 – look มองที่คนใดคนหนึ่ง มองเรียงไปทีละคน
- lock look คนที่ 1
- talk lock คนที่ 2
เคล็ดลับ 2 Kiss (keep it short; Simple)
การพูดที่ดี อย่าพูดให้ยากกว่าสิ่งที่นำเสนอ
เคล็ดลับ 3 เครื่องมือทุกอย่างต้องใช้ให้ถูกต้อง
เคล็ดลับ 4 Media Professional
- สไลด์นำเสนออย่าเยอะ
สไลด์ 1 บอกหัวข้อ , วัตถุประสงค์
2 ภาพกว้างๆ ในการกระตุ้นผู้ฟัง โดยสรุป
3-9 Detail, Numbers
10 ทำให้ผู้ฟังเห็นว่าหลังจากนี้เขาจะทำอะไรต่อ
2. Informative Format
3. Idea Format แตกต่างตรงที่แนวคิดที่ชัดเจน
- การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนหน่วยธุรกิจการท่องเที่ยวดอยตุง
การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน (Sustainable Alternative Livelihood Development)
การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนเป็นแนวทางการพัฒนาของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯที่มีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนประกอบอาชีพสุจริตและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนแนวทางการพัฒนาดังกล่าวเป็นการสืบสานแนวพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในการแก้ปัญหาความยากจนซึ่งเป็นรากเหง้าของปัญหาสังคมต่างๆเช่นปัญหายาเสพติดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อมและปัญหาโครงสร้างสังคมอ่อนแอ
การพัฒนาทางเลือกในการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนมีแนวทางการพัฒนาที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางคำนึงถึงบริบททางภูมิสังคมและดำเนินงานอย่างมีบูรณาการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดด้านคุณภาพชีวิตอันประกอบด้วยสุขภาพการประกอบอาชีพและการศึกษารวมทั้งเป็นการฟื้นฟูและการอนุรักษ์ธรรมชาติอีกด้วย
โครงการพัฒนาดอยตุงมีจุดมุ่งหมายหลักคือ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติเป็นสำคัญ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่าธุรกิจเพื่อสังคม โครงการนี้ครอบคลุมพื้นที่ 15,000 เฮกเตอร์ (150 ตารางกิโลเมตร) ในพื้นที่ดอยตุง และยกระดับชีวิตชนกลุ่มน้อยราว 11,000 คนจาก 6 เผ่าที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน 29 แห่ง สมเด็จย่าทรงตระหนักว่าความยากจนและขาดโอกาสเป็นต้นเหตุหลักที่ทำให้ชาวบ้านปลูกฝิ่นและทำธุรกิจผิดกฎหมาย หากใช้อำนาจกำจัดการปลูกฝิ่นซึ่งเป็นรายได้หลักของชาวบ้านโดยไม่สร้างอาชีพใหม่ก็จะยิ่งทำให้ปัญหาความยากจนร้ายแรงขึ้น พระองค์จึงทรงสร้างทางเลือกใหม่เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน โดยยังอนุญาตให้ปลูกฝิ่นควบคู่กับประกอบอาชีพใหม่ที่ถูกกฎหมายเพื่อสร้างรายได้และสร้างอาชีพไปพร้อมๆ กัน เมื่อชาวบ้านสร้างรายได้จากทางเลือกใหม่ได้เพียงพอแล้ว ก็จะเลิกปลูกฝิ่นไปเอง โครงการพัฒนาดอยตุงนี้แบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะอยู่รอด ระยะพอเพียง และระยะยั่งยืน โดยกลวิธีที่ทางโครงการได้ใช้นั้น ต่อมาถูกเรียกว่าเป็นแม่แบบการพัฒนาการดำรงชีวิตแบบทางเลือก
โลกธุรกิจสู่อาเซี่ยน การเขียนแผนธุรกิจนี้…สามารถปรับใช้ได้กับการดำเนินธุรกิจจริง!!!