กลยุทธ์การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
องค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร (กทท.ดชช.ชพ) มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย ร่วมทั้งเป็นการร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้เกิดความยั่งยืนแก่ชุมชนสมาชิกเครือข่าย และขยายแนวคิดดังกล่าวสู่แหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัดชุมพร และพื้นที่เชื่อมโยงในจังหวัดใกล้เคียง โดยขับเคลื่อนตามกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร เพื่อประสานความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิกเครือข่าย รวมทั้งเป็นการร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันด้านการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ให้เกิดความยั่งยืนแก่ชุมชนสมาชิก ภายในเครือข่าย และขยายแนวคิดดังกล่าวสู่แหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ
1.1 กลยุทธ์ การจัดประชุมเครือข่าย
การจัดประชุมสมาชิกเครือข่าย ในทุก ๆ 3 เดือน แบบการประชุมสัญจร เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนสมาชิกเครือข่าย และร่วมกันวิภาครูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวของสมาชิกชุมชนเจ้าภาพ และมีการประชุมครั้งใหญ่ 1 ครั้งต่อปี โดยรูปแบบงานเป็นมหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน
1.2 กลยุทธ์การขยายแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน
การขยายแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อหวังให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนควบคู่กับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรเครือข่ายฯ ดังนั้นแกนนำเครือข่ายฯ จึงร่วมเดินทางเพื่อแสวงหาภาคีความร่วมมือทั้งภาคประชาชน รัฐ และเอกชน
1.3 การพัฒนาศักยภาพบุคลากรและสมาชิกองค์กรเครือข่ายฯ
เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดชุมพร และพัฒนาศักยภาพการให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ทั้งในระดับพื้นที่ และระดับเครือข่ายภายในจังหวัด พร้อมทั้งเป็นการหนุนเสริมศักยภาพของชุมชนสมาชิกภายในองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพรและพื้นที่เชื่อมโยง เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนภายในจังหวัดชุมพรแบบวงรอบ ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวโดยไม่คำนึงถึงเฉพาะจุดท่องเที่ยวจุดใดจุดหนึ่ง แต่มุ่งพัฒนาและเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวภายในเส้นทางท่องเที่ยวตามระดับศักยภาพของพื้นที่และกิจกรรมที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน
2.1 กลยุทธ์ การกำหนดโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพรและพื้นที่เชื่อมโยง
ชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯ มีส่วนร่วมในการกำหนดเส้นทางการท่องเที่ยวภายในจังหวัดชุมพร และพื้นที่เชื่อมโยงภายในจังหวัดใกล้เคียง พิจารณาจากศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยว ระยะทาง การเดินทางที่สามารถเชื่อมโยงภายในโครงข่ายฯ การส่งต่อนักท่องเที่ยวและความสัมพันธ์ของกิจกรรมการท่องเที่ยว
2.2 กลยุทธ์ การพัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร
พัฒนาโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยการให้แกนนำชุมชน นักวิชาการ นักการตลาด หรือสื่อมวลชนที่มีประสบการณ์ในการดำเนินการด้านการท่องเที่ยวร่วมเดินทางท่องเที่ยวภายในเส้นทางฯ และให้ข้อคิดเห็นเพื่อปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ รองรับนักท่องเที่ยวในอนาคต ซึ่งรูปแบบการดำเนินการดังกล่าวยังช่วยเสริมสร้างกำลังใจ และเป็นการกระจายรายได้ให้กับชุมชน
3. ยุทธศาสตร์ การตลาดและประชาสัมพันธ์
3.1 กลยุทธ์ การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทต่างๆ
การพัฒนาสื่อประเภทต่างๆ ที่สอดคล้องกับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวและความต้องการของสมาชิกเครือข่าย เช่น จัดทำทำเนียบแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน การพัฒนาเวปไซด์เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน การทำปฏิทินและคู่มือการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดชุมพร การจัดทำโครงข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชนด้วยช่องทางต่างๆ การกระจายนักท่องเที่ยวไปยังชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯ
3.2 กลยุทธ์ พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการใช้เทคโนโลยีและระบบสาระสนเทศน์
การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนสมาชิกเครือข่ายฯ ในการใช้เทคโนโลยีและระบบสาระสนเทศน์เพื่อการส่งเสริมด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เฟสบุ๊ค เว็ปไซด์ การใช้ระบบคิวอาร์โค้ต เป็นต้น
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายระดับภาคใต้ และประเทศ เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับภาคใต้และประเทศ ซึ่งหวังให้เกิดการปฏิบัติการร่วมระหว่างเครือข่ายฯจังหวัดต่างๆ แบ่งตามกลุ่มพื้นที่ของหน่วยงานราชการโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้แก่ 1) กลุ่มจังหวัดฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง 2) กลุ่มจังหวัดฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ และระนอง 3) กลุ่ม5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะยา นราธิวาส และสตูล ทั้งนี้การดำเนินการขับเคลื่อนเครือข่ายฯ ดังกล่าว จะนำไปสู่การจัดตั้งองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้ และระดับประเทศ ต่อไป
4.1 กลยุทธ์ การเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับภาคใต้และประเทศ
โดยเครือข่ายฯ จังหวัดชุมพร เดินทางเชื่อมโยงและมีส่วนร่วมเป็นจังหวัดขับเคลื่อนหลัก ซึ่งเป็นแนวคิดการขยายเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การปฏิบัติในระดับต่างๆ ทั้งระดับจังหวัด ระดับกลุ่มจังหวัด ระดับภาคใต้ และระดับประเทศ
4.2 กลยุทธ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้
เป็นการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การจัดการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน สถานการณ์เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแต่ละจังหวัด และร่วมวางแนวทางการบริหารจัดการองค์กรเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคใต้
การแบ่งระดับชุมชนสมาชิก
พิจารณาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนจากกระบวนการดำเนินงานตามลำดับขั้นตอนและพัฒนาการของชุมชน สามารถแบ่งตามระดับ ดังนี้
ระดับ 1 หมายถึง ชุมชนที่มีการรวมกลุ่ม มีกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง จำนวน 9 ชุมชน
ระดับ 2 หมายถึง ชุมชนเพิ่งเริ่มต้น มีการทำงานเตรียมความพร้อม แต่ยังไม่มีนักท่องเที่ยว หรือมีนักท่องเที่ยวน้อยมาก จำนวน 10 ชุมชน
ระดับ 3 หมายถึง สนใจทำ แต่ยังไม่ริเริ่มดำเนินการด้านการท่องเที่ยว จำนวน 3 ชุมชน กับอีก 1 กลุ่มเครือข่าย
ระดับ 4 หมายถึง ทำไปแล้วระดับหนึ่ง แล้วชะลอ หรือระงับ จากเหตุปัจจัยต่างๆ จำนวน 6 ชุมชน
ตาราง ระดับชุมชน พิจารณาจากแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนจากกระบวนการดำเนินงานตามลำดับขั้นตอนและพัฒนาการของชุมชน
ชื่อชุมชน | ระดับ 1 | ระดับ 2 | ระดับ 3 | ระดับ 4 | หมายเหตุ |
1. ศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง :ภายในโครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามแนวพระราชดำริ อำเภอเมือง | P | ||||
2. ชุมชนบ้านท้องตมใหญ่ : โฮมสเตย์ท้องตมใหญ่ อำเภอสวี | P | ||||
3. ชุมชนบ้านเกาะพิทักษ์ : โฮมสเตย์เกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน | P | ||||
4. ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ (สวนลุงนิล) พืชคอนโด 9 ชั้น อำเภอทุ่งตะโก | P | ||||
5. ชุมชนบ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ | P | ||||
6. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อชุมชนคนอยู่กับป่าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ | P | ||||
7. กลุ่มท่องเที่ยวเขาพ่อตามังเคร อำเภอพะโต๊ะ | P | ||||
8. กลุ่มล่องแพมาลิน อำเภอพะโต๊ะ | P | ||||
9. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเพลิน : ชุมพรคาบาน่า อำเภอปะทิว | P | ||||
10. ชุมชนบ้านอ่าวคราม : แดนโดมโฮมสเตย์ อำเภอสวี | P | ||||
11. ชุมชนหมู่บ้านหลางตาง อำเภอพะโต๊ะ | P | ||||
12. ชมรมรักษ์เรือใบโบราณละแมและมหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร อำเภอละแม | P | ||||
13. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านพะงุ้น (บ้านป้านวย) อำเภอสวี | P | อยู่ในขั้นตอนดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่าย | |||
14. ชุมชนเหวโหลมโฮมสเตย์ อำเภอพะโต๊ะ | P | ||||
15. หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงบ้านทอน-อม อำเภอทุ่งตะโก | P | ||||
16. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านกำนันเคว็ด อำเภอหลังสวน | P | ||||
17. ศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านลุงสานนท์ อำเภอทุ่งตะโก | P | อยู่ในขั้นตอนดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่าย | |||
18. กลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศตำบลบางสน อำเภอปะทิว | P | ||||
19. ชุมชนบ้านบ่อสำโรง อำเภอปะทิว | P | ||||
20. ชุมชนท่องเที่ยวปลายคลอง อำเภอพะโต๊ะ | P | ||||
21. เครือข่ายครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอพะโต๊ะ | P | ||||
22. เครือข่ายเยาวชนจากภูผาสู่มหานที (ยค.ภม.) อำเภอพะโต๊ะ | P | อยู่ในขั้นตอนดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่าย | |||
23. กลุ่มอนุรักษ์คลองท่าทอง-คลองบางมุด : คลองท่าทองโฮมสเตย์ อำเภอหลังสวน | P | ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานโดยมุ่งเน้นให้พื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนชุมชน | |||
24. ชุมชนบ้านทุ่งมหา : ปากคลองโฮมสเตย์ อำเภอปะทิว | P | กลุ่มแกนนำติดภารกิจ แต่ยังมีการเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง | |||
25. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทุ่งหงส์ อำเภอเมือง | P | กลุ่มแกนนำกลุ่มเดิมติดภารกิจและอยู่ในขั้นตอนดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายฯ | |||
26. ชุมชนบ้านในไร่ : โฮมสเตย์บ้านในไร่ อำเภอสวี | P | ปรับเปลี่ยนหัวหน้าสถานีพัฒนาป่าชายเลนที่ 12 ชุมพร ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานหลักด้านการท่องเที่ยว ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการภายใน | |||
27. ชุมชนบ้านเขาค่าย อำเภอทุ่งตะโก | P | กลุ่มแกนนำติดภารกิจ แต่ยังมีการเชื่อมโยงกันอย่างต่อเนื่อง | |||
28. กลุ่มรฤกษ์หลังสวน อำเภอหลังสวน | P | กลุ่มแกนนำกลุ่มเดิมติดภารกิจและอยู่ในขั้นตอนดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายฯ | |||
29. ชุมชนบ้านในหยาน อำเภอพะโต๊ะ | P | ขาดการประสานงานจากแกนนำชุมชนและอยู่ในขั้นตอนดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายฯ | |||
30. ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อำเภอพะโต๊ะ | P | ขาดบุคคลากรดำเนินการและประสานงาน |