Creativity-Based Learning “การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน”
การเรียนการสอนด้วยวิธีการ “เล่าเรื่อง” โดยคุณครู ที่พวกเราเรียกกันคุ้นเคยว่า เลคเช่อร์ (Lecture) เป็นวิธีการสอนที่ทำกันมาเนิ่นนาน จนกระทั่งทุกวันนี้ ครู อาจารย์ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษาทั่วโลกก็ยังคงสอนแบบนี้
วิธีการสอนแบบดั้งเดิม (Traditional learning approach) นี้มีข้อดีหลายอย่างเช่น
1. เป็นวิธีที่คุณครูคุ้นเคย เพราะทุกคนต่างก็เรียนมาด้วยวิธีการสอนแบบนี้
2. คุณครูที่มีประสบการณ์สอนแค่เพียงปีเดียว ก็ไม่ต้องเตรียมการสอนใหม่เพราะเรื่องราวที่สอนก็คือเรื่องราวที่เคยเรียนมาถ้ามีการปรับปรุงหลักสูตรก็มักเป็นแค่ย้ายเนื้อหาจากบทหน้าไปไว้หลังหรืออาจมีการเพิ่มเติม ตัดทอน เนื้อหา ซึ่งก็ไม่ได้สร้างความยุ่งยากใดๆในการสอน
3. การสอนแบบนี้ สามารถสอนนักเรียนนักศึกษาได้ครั้งละหลายคน เพราะเป็นการบรรยายจะเรียนพร้อมกันห้องละ 50 คนหรือ 500 คนก็ไม่ได้ต่างกัน
4. สามารถบันทึกการสอนแล้วนำไปเผยแพร่ให้ผู้เรียนได้ทางสื่อต่างๆ เช่น วีดีโอ ยูทูบ podcast
5. การวัดผลก็ง่าย เพราะเป็นการวัดว่าผู้ที่เรียนจดจำเนื้อหาที่ได้เรียนไปแล้วได้มากเพียงใดเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาโจทย์แบบที่สอนไปแล้วหรือไม่
6. ด้วยการวัดผลแบบนี้จึงทำให้การให้คะแนน-ตัดเกรดทำได้ง่าย รวดเร็ว ชัดเจน และเป็นธรรม (ถ้าไม่มีการลอกกัน หรือข้อสอบรั่ว)
ปัจจุบัน โลกเปลี่ยน การเรียนการสอนควรเปลี่ยนไปด้วยหรือไหม
โลกปัจจุบันคือ โลกแห่งการแบ่งปัน แบ่งปันข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และอื่นๆ อีกมากมาย
ความรู้ : ความรู้มีมากมาย เสาะหาได้ง่าย และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
เทคโนโลยีแห่งการสืบค้น – www.google.com, www.youtube.com, etc.
??? นักศึกษาฟังคนสอนที่ไม่อยากฟัง ??? ดังนั้น “เราควรเปลี่ยนห้องเรียนเป็นห้อง แห่งการต้องการอยากรู้”
สังคม : The 21st Century Learning is a must.
“เก่งเรียน เก่งงาน เก่งคิด เก่งชีวิต”
ปัญหา + กิจกรรม + บริบท = > ความรู้ ทักษะ และ ทัศนคติ
No more : Traditional Learning Approach สอนให้จำ ความรู้จำกัดและยัดเหยียด วัดผลจากการจำเนื้อหา ความรู้ไม่ได้ใช้ รู้เรื่องกว้างๆ ไม่รู้เรื่องตัวเอง ข้อสอบไม่เคยออกเกินหนังสือ ห้องเรียนน่าเบื่อ
การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน Creativity-based learning Model
รูปแบบการสอนนี้ได้ทำการวิจัยต่อยอด มาจาก Problem -based learning PBLซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางซึ่งใช้ได้ผลดีในหลายประเทศ เป็นการสอนแบบ Active learning คือการจัดการสอนให้ผู้เรียนตื่นตัว ในการค้นคว้า แทนที่จะรอรับการบรรยายแบบเดิม ในการสอนแบบเดิม ผู้สอนจะมีกำหนดการสอนที่ชัดเจน ตั้งแต่บทที่ 1 ไปเรื่อยๆ จนจบเนื้อหาในหลักสูตรนั้นๆ ลักษณะการสอน แยกออกเป็นวิชาอย่างชัดเจน แต่ใน CBL ผู้สอน จะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้บรรยายเนื้อหาต่างๆ อย่างละเอียดมาเป็นผู้อำนวยการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ แปลงจาก lecturer มาเป็น facilitator ครับ
การสอนทำโดยกระบวนการ 8 ข้อ และบรรยากาศ 9 ข้อ ต่อไปนี้
กระบวนการ 8 ข้อ
- สร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความอยากรู้ Inspiration
- เปิดโอกาสให้ค้นหา รวบรวมข้อมูล แยกแยะและนำมาสร้างเป็นความรู้ Self study การสอนมักจะทำเมื่อมีคำถาม เป็นการสอนแบบรายคนหรือรายกลุ่ม มากกว่าการสอนรวม
- ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสหาทางแก้ปัญหา ด้วยตนเอง Individual problem solving
- ใช้เกมส์ให้มีส่วนในการเรียนรู้ในห้องเรียน Game-based learning.
- แบ่งกลุ่มทำโครงงาน team project.
- ให้นำเสนอผลงาน ด้วยวิธีการต่างๆ creative presentation
- ใช้การวัดผลที่เป็นการวัดผลด้านต่างๆ ออกมา ตามเป้าหมายที่ได้ออกแบบไว้
- Informal assessments and multidimensional assessment Tools.
ส่วนบรรยากาศ 9 ข้อ คือ
- ครูควรเหลือเวลาให้เด็กค้นคว้ามากๆ คุยมากๆ นำเสนอมากๆ
- ใช้เวลาในการสอนให้น้อยลงและมักจะเดินสอนตามกลุ่มมากกว่าสอนรวม
- หลีกเลี่ยงการอธิบายอย่างละเอียด แต่จะพยายามให้เด็กค้นหาคำตอบเอง ครูจึงมักจะตอบคำถาม ด้วยคำถามเพื่อให้เด็กสนใจต่อ
- ในการสอนแบบเดิม ผู้เรียนมักกลัวผิด เพราะผู้สอนมักจะมีคำตอบที่ถูกเอาไว้แล้ว ดังนั้นใน CBLครูจะหลีกเลี่ยงการตัดสินแบบเด็ดขาด เช่น ถูกต้อง ผิด แต่จะใช้วิธีถามว่า แน่ใจหรือ ทำไมคิดอย่างนั้น หรือ เพื่อนๆ คิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้
- บรรยากาศของ CBL ที่สำคัญมากๆ คือ การสนับสนุนให้คิด
- ใช้เรื่องที่เด็กสนใจเป็นเนื้อหานำ และการค้นคว้า และเนื้อหาวิชาความรู้ตามตำราเป็นตัวตามช่วงเวลาเรียนควรยาวกว่า 90 นาที และอาจเรียนหลายวิชาพร้อมๆ กัน ขึ้นกับปัญหาที่ตั้งเกี่ยวโยงกับวิชาใดบ้าง ครูอาจสอนพร้อมๆ กันทั้ง 2-3 วิชาในห้องเรียนเดียวกัน
- CBL จะเน้นให้เด็กสนใจพัฒนาการตนเองในด้านต่างๆ จึงไม่จำเป็นต้องวัดผลครั้งเดียว ควรมีการวัดผลและรายงานผลให้เด็กรู้และพัฒนาตนเองในแต่ละด้าน
- CBL จะได้ผลดีจากความสมัครใจ ความสนใจของเด็ก และความร่วมมือ มากกว่าการบังคับให้รู้ดังนั้นการตัดคะแนนและลงโทษ เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
- ครูจะเป็นผู้รับฟังเรื่องราวที่เด็กคิด นำเสนอ และเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับเด็ก ครูอาจมีการติติง และแสดงความคิดเห็นในจังหวะที่เหมาะสม และสิ่งที่จำเป็นมากๆ คือการให้กำลังใจ