การพัฒนาศักยภาพตนเองและการทำงานเป็นทีม
1. การปรับตัวกับการทำงานร่วมกับผู้อื่น
เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่เมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น แม้ว่าจะเป็นคนที่เราไม่คุ้นเคยมาก่อน เราก็ควรแสดงความเป็นมิตร เพื่อให้เขาอยากสอนงานเรา หรือทำงานร่วมกับเราด้วยความเต็มใจ หากเป็นไปได้ให้ใช้รอยยิ้ม เป็นตัวช่วยให้เรากล้าที่จะพูดคุยกับเพื่อนใหม่ และเปิดใจให้กว้าง อย่ามีอคติกับการเรียนรู้ บางคนจะรู้สึกว่าตัวเองก็มีความรู้ในงานที่ตัวเองทำอยู่แล้ว ทำไมจึงต้องไปเรียนรู้กับคนอื่นอีก ในการทำงานเป็นทีมเราต้องคิดว่าการทำงานร่วมกัน คือการแบ่งปันความรู้กัน ไม่ใช่การเอาความรู้มาอวดกัน หากเราเปิดใจให้กว้างเราจะได้รับความรู้ใหม่อีกมากมาย ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้กับการทำงานของตัวเองได้ อีกทั้งการเปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ยังทำให้เราได้รับการยอมรับจากคนในทีมได้เร็วขึ้นด้วย
เรียนรู้และจดจำอย่างเป็นระบบ
เมื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของทีม เราต้องพยายามเรียนรู้ว่าทีมของเรามีระบบการทำงานอย่างไร แล้วจึงค่อย ๆ จดจำ เรียนรู้อย่างเป็นระบบ ในเบื้องต้นเราอาจจะทำได้ไม่ดี เนื่องจากเพิ่งจะคุ้นเคยกับระบบ แต่ครั้งต่อ ๆ ไปเราต้องทำงานให้ดีขึ้นมากกว่าเดิม โดยพยายามจดจำให้มากที่สุด แต่ในการเรียนรู้งานนั้นควรทำอย่างเป็นระบบ ทำความเข้าใจก่อน แล้วจึงเรียบเรียงออกมาเป็นคำพูดของตัวเอง เราจะเข้าใจระบบการทำงานได้ง่ายขึ้น จากนั้นไม่นาน เราก็จะทำงานร่วมกับทีมได้ดีขึ้น
ยอมรับคำวิจารณ์
เมื่อเกิดความผิดพลาดในการทำงาน เราควรเปิดใจเพื่อยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์อันอาจจะเกิด คำวิพากษ์วิจารณ์การทำงานเกี่ยวกับการทำงานเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะต้องการตำหนิเพื่อให้เราได้รับความอับอาย แต่เพราะต้องการให้รับเรียนรู้ข้อผิดพลาด เราจึงต้องเปิดใจให้กว้าง โดยไม่มีอคติ เพราะหากเรายังคงมีอคติเกิดขึ้นภายในใจ เราก็จะไม่สามารถทำงานได้ เพราะเราจะรู้สึกว่าเรากำลังโดนตำหนิ หรือคิดว่าเราทำงานได้ไม่ดี เราก็จะไม่สามารถเข้ากับทีมได้ สิ่งที่เราควรทำคือการยอมรับคำวิจารณ์ และนำมาปรับปรุงตัว เพื่อให้สามารถทำงานได้ดีขึ้น
ยอมรับความสามารถของคนอื่น
การเชื่อว่าเราคือคนที่ทำงานเก่งที่สุด ดีที่สุด และมีความสามารถมากกว่าคนอื่น ๆ ภายในทีม จะทำให้เราเข้ากับทีมได้ค่อนข้างยาก เพราะเราจะไม่เชื่อว่าคนอื่นสามารถทำงานได้ดี หรืออาจจะทำงานผิดพลาดได้ หากเราคิดเช่นนั้น เราจะทำงานร่วมกับทีมไม่ได้ หากเราเป็นหัวหน้างาน เราก็จะรู้สึกว่าลูกน้องของเราทำงานไม่ดีเลยสักอย่าง ผิดพลาดตลอด ทั้ง ๆ ที่เขาเพิ่งจะทำงานได้ไม่นานเท่าไร ยังไม่ทันได้เห็นความสามารถทั้งหมดของเขา ก็กังวลไปก่อนแล้วว่าเขาอาจจะทำไม่ได้ เราควรปล่อยให้เขาได้ทำงานเสียก่อน แล้วค่อยตักเตือนทีหลัง หากเกิดความผิดพลาดในการทำงานเกิดขึ้น ในการทำงานเป็นทีม เราต้องเชื่อมั่นว่าคนอื่นทำงานได้ดี และมีความสามารถไม่ต่างจากเรา การทำงานเป็นทีมจึงจะราบรื่น
รับผิดเมื่อเกิดความผิดพลาด
หากเราต้องกลายเป็นส่วนหนึ่งของความผิดพลาดในการทำงาน สิ่งแรกที่เราควรทำ คือการกล่าวคำขอโทษที่ทำให้ทีมได้รับการตำหนิ หรือเกิดความล่าช้าในการทำงาน อย่าดึงดันที่จะปฏิเสธ หรือโยนความรับผิดชอบให้คนอื่น เพราะเราจะสูญเสียความเชื่อถือจากคนในทีมได้ เราต้องยืดอกยอมรับความผิดนั้น รับปากว่าจะแก้ไขความผิดพลาดนั้นอย่างไร และจะไม่ให้ความผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นอีกในอนาคต เมื่อเราทำงานผิดพลาดไม่ต้องพยายามที่จะหาข้อแก้ตัว แต่ให้พยายามหาข้อแก้ไข เพื่อให้งานที่ผิดพลาดนั้นดีขึ้น แล้วจำไว้เป็นบทเรียนว่าอะไรที่ทำให้เกิดความผิดพลาด เราจะไม่ทำอีก เพียงเท่านี้เพื่อนร่วมทีมก็จะไว้ใจให้เราทำงานเช่นเดิม การทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพต้องมาจากการเตรียมพร้อม และเริ่มต้น
ให้ดี ก้าวแรกที่มั่นคงส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงาน หากเรามีความมุ่งมั่น เต็มใจที่จะเรียนรู้ และ
ยอมรับความคิดเห็นของทีม เราก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับทีม แล้วทำงานร่วมกับองค์กรได้อย่างราบรื่นมากขึ้น
2. หลักการสื่อสารในองค์กร
ประโยชน์ของการสื่อสาร
1. การสื่อสารช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจบทบาทของแต่ละคน และทำให้แต่ละหน่วยงานในองค์การมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2. เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้บริหารนำมาใช้ในการตัดสินใจ การติดตามงาน และการแก้ไขงาน
ความสำคัญของการสื่อสารในองค์การ
- การสื่อสารทำให้เกิดความหมาย
- การสื่อสารทำให้คาดคะเนความคิดกันได้“การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางการสื่อสารจะสามารถคาดคะเนพฤติกรรมและแนวความคิดของคนอื่นได้”
- การสื่อสารทำให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน วัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน
ในองค์การ : ระหว่างบุคคลในที่ทำงานเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการ ประสานงาน การปรึกษาหารือ การประชุมเพื่อแก้ปัญหานอกองค์การ :การติดต่อกับลูกค้า ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ตัวแทน
รูปแบบของการสื่อสาร - การสื่อสารด้วยการใช้คำ ได้แก่ พูดหรือเขียน เช่น ผู้บริหารออกคำสั่งกับบุคลากรในโรงเรียน การสัมภาษณ์งาน การเขียนรายงาน การบันทึก การประชุม
- การสื่อสารที่ไม่ใช้คำพูด เช่น การแสดงออกทางสีหน้า น้ำเสียง กิริยาท่าทาง การแต่งตัว การใช้เครื่องประดับ การจัดโต๊ะเก้าอี้ในที่ทำงาน
การสื่อสารกับกิจกรรมขององค์การ- การตัดสินใจ ผู้บริหารต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดการผิดพลาดน้อยที่สุด
- ความเจริญและพัฒนา การพัฒนาบุคลากรควรหาแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อ บุคลากร
- ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ต้องสร้างความเข้าใจด้วยสื่อสาร จูงใจให้เกิดความรู้สึกที่ดี เต็มใจและยินดีที่จะทำงานที่ตนมีความถนัด
- เทคโนโลยี จัดให้มีคู่มือ การแนะแนว โครงการฝึกอบรมให้มีความรู้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือเครื่องใช้สมัยใหม่
- การควบคุมและการประสานงาน สร้างบรรยากาศและช่องทางการสื่อสารให้ทั่วถึงทั่งองค์การ
- สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี การเมือง สังคม ต้องติดตามข่าวสารต่างๆเพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้
ลักษณะการสื่อสารในองค์การ
ระบบรวม (Macro Approach) ภาพรวมทั้งองค์การ
- การติดตามรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกิดขึ้นภายนอก กำหนดให้พนักงานมีหน้าที่รับผิดชอบติดตามข้อมูล รายงาน วิเคราะห์ถึงผลกระทบจากข้อมูลภายนอก
- การพิสูจน์ให้เห็นจริง ทำได้ตามที่ตกลงไว้หรือไม่
- การติดต่อกับองค์การอื่น โดยหาข้อมูลทางวารสารหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต – การแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลในกลุ่มเครือข่ายเดียวกัน
- การกำหนดวัตถุประสงค์ พิจารณาจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากภายนอก ขีดความสามารถของลูกค้า และติดต่อกับสถาบันอื่นก่อน
ระบบย่อย (Micro Approach) หน่วยงานย่อยในองค์การ- การเป็นสมาชิกของกลุ่ม สื่อสารสร้างความเข้าใจ มีเป้าหมายร่วมกัน
- การปฐมนิเทศและการฝึกอบรม ให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน
- การสร้างบรรยากาศในการทำงาน พุดคุยปรึกษากันอย่างเสรี การเปิดเพลงเบาๆ
- การควบคุมและการสั่งงาน ต้องอาศัยเครื่องมือทางการสื่อสารที่ดี และมีประสิทธิภาพ เช่น การประชุมภายใน หนังสือเวียน วิทยุสื่อสาร Internet Fax โทรศัพท์ เป็นต้น
- การสร้างความพอใจ สร้างระบบการสื่อสารในองค์การที่เหมาะสม เช่นเสียงตามสาย วารสาร บอร์ดประชาสัมพันธ์ อีเมล์ จุดนัดพบ (Meeting Point)
ระบบเฉพาะบุคคล (Individual Approach) เป็นพฤติกรรมทางการสื่อสารแต่ละบุคคล
- การพูดกันในกลุ่มที่ทำงานด้วยกัน เพื่อสร้างความเข้าใจ แลกเปลี่ยนทัศนคติ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
- การเข้าร่วมประชุม :การนำเสนอข้อมูล การแก้ปัญหา การโน้มน้าวให้บุคคลอื่นยอมรับ
- การเขียนคู่มือ แนวทางการปฏิบัติงาน และเป็นการสื่อสารระหว่างองค์การกับบุคคลภายนอก
- การร่างจดหมาย ใช้เวลาที่จำกัด และต้องทำให้ผู้อ่านเกิดความประทับใจ
- การทำสัญญาขาย มีความยึดหยุ่นตอบสนองความต้องการของลูกค้า
- การโต้แย้ง ผู้ที่จะประสบผลสำเร็จในการโต้แย้งจะต้องเป็นที่ผู้ชักนำให้บุคคลอื่นคล้อยตาม
การสื่อสารในองค์การ
การสื่อสารจากบนลงล่าง ( Downward Communication ) คือ การสื่อสารจากบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าไปยังบุคคลที่มีตำแหน่งต่ำกว่า หรือการสื่อสารจากผู้บริหารไปยังผู้ปฏิบัติ เช่น ผู้บังคับบัญชาสั่งงานไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
การสื่อสารจากล่างขึ้นบน ( Upward Communication ) คือ การส่งข้อมูลจากบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าไปยังบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าหรือการส่งข้อมูลจากผู้ปฏิบัติไปยังผู้บริหาร เช่น กล่องแสดงความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน เป็นต้น
การสื่อสารในแนวนอน ( Horizontal Communication ) คือ การสื่อสารที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในระดับเดียวกันในองค์การ และสำหรับบุคคลที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกันมีผู้บังคับบัญชาคนเดียวกัน
การสื่อสารในแนวไขว้ ( Cross – Channel Communication) คือ การสื่อสารระหว่างบุคคลที่อยู่คนละหน่วยงานกันหรือระหว่างหน่วยงานซึ่งเป็นการติดต่อข้ามแผนกของหน่วยงาน บุคคลที่ติดต่อกันอาจอยู่ในตำแหน่งเท่ากันหรือระดับตำแหน่งต่างกันก็ได้ เช่น บุคคลที่ทำงานอยู่ในฝ่ายผลิตติดต่อกับบุคคลที่อยู่ในฝ่ายตลาด
หน้าที่ของการสื่อสารในองค์การ
1. การจัดหาข้อมูลเพื่อสามารถแข่งขันกับองค์การอื่น
2. ใช้ข้อมูลเป็นเครื่องมือในการตัดสินใจ
3. สร้างความสัมพันธ์ภายในและภายนอกองค์การ
บทบาทของการสื่อสารในองค์การ
1. มีระบบที่การติดต่อสื่อสารที่เหมาะสม
2. มีสายการบังคับบัญชา และการแบ่งงานที่ชัดเจน
3. บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการติดต่อสื่อสารเป็นอย่างดี
การสื่อสารกับการบริหาร
1. เป็นเครื่องมือสำคัญของฝ่ายบริหารในการบริหารงาน
2. เป็นเครื่องช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ทั้งสองฝ่าย
3. ช่วยให้เกิดความเข้าใจระหว่างกันดีขึ้น การสื่อสารนำมาซึ่งความไว้วางใจ
4. การสื่อสารมีส่วนอย่างมากในการประสานงาน
5. ช่วยให้เกิดการพัฒนาและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ
สรุปการสื่อสารของผู้บริหารต้องมีความถูกต้องแน่นอน มีข้อมูลสั้น กระชับ กระจ่างชัดเจนตรงเป้าหมายผู้รับเข้าใจง่ายมีผลย้อนกลับทบทวน หรือ Two – way communication
3. วิธีการทำงานเป็นทีม
การทำงานเป็นทีมนั้นมีความสำคัญต่อผลของงานมาก ถ้ามีทีมเวิร์คทีดีแล้วรับรองว่าการทำงานทุกอย่างทุกขั้นตอนราบรื่นและประสบผลสำเร็จแน่นอน เพราะการทำงานทุกอย่างต้องได้รับการประสานงานและการร่วมมือที่ดีจากทุกคนในกลุ่มงาน ดังนั้นมีปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำงานเป็นทีม คือ
- บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย
- ความไว้วางใจกัน (Trust) เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน
- มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน
- บทบาท (Role) สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เป็นต้น
- วิธีการทำงาน (Work Procedure) สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ
5.1 การสื่อความ (Communication) การทำงานเป็นทีมอาศัยบรรยากาศ การสื่อความที่ชัดเจนเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ทุกคนกล้าที่จะเปิดใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ
5.2 การตัดสินใจ (Decision Making) การทำงานเป็นทีมต้องใช้การตัดสินใจร่วมกัน เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจแล้ว สมาชิกย่อมเกิดความผูกพันที่จะทำในสิ่งที่ตนเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น
5.3 ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น การทำงานเป็นทีมควรส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำ (ไม่ใช่ผลัดกันเป็นหัวหน้า) เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ จะได้รู้สึกว่าการทำงานเป็นทีมนั้นมีความหมาย ปรารถนาที่จะทำอีก
5.4 การกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน
6.การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของทีม ทีมงานควรมีการประเมินผลการทำงาน เป็นระยะ ในรูปแบบทั้งไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ทำให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้าของงาน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงาน หรือการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ซึ่งในที่สุดสมาชิกจะได้ทราบว่าผลงานบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด
7. การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง
7.1 พัฒนาศักยภาพทีมงาน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางบวก สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการจัดกิจกรรมสร้างพลังทีมงาน เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
7.2 การให้รางวัล ปัจจุบันการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ส่วนใหญ่จะพิจารณาผลการทำงานเป็นรายบุคคล ดังนั้นระบบรางวัลที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม คือ การที่ทุกคนได้รางวัลอย่างยุติธรรมทุกคน คือ ควรสนับสนุนการให้รางวัลแก่การทำงานเป็นทีมในลักษณะที่ว่างอยู่บนพื้นฐานการให้รางวัลกับกลุ่ม (Group base reward system)
4. ถอดบทเรียนการทำงานเป็นทีมของห่านป่า
บทเรียนบทที่ 1 : กฎแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูล
ฝูงห่านป่าแคนนาดา จะพากันบินอพยพข้ามทวีปด้วยการบินตามกัน เป็นรูปตัว V เพราะการบินเช่นนี้ขณะที่ตัวที่อยู่ “ด้านหน้า” กระพือปีกแรงยกของลมจะช่วยให้ ห่านตัวที่บินอยู่ “ข้างหลัง” ใช้แรงในการบินน้อยลงซึ่งจะทำให้พวกมันสามารถเดินทางได้ไกลขึ้นกว่าเดิมถึง 71%
บทเรียนสอนเราว่า การทำงานร่วมกันนั้น หากมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันก็จะทำให้ “ทีม” สามารถไปถึงที่หมายได้ เร็วขึ้นและง่ายขึ้นเพราะเป็นการทำงานที่อยู่บนพื้นฐานของ “ความไว้วางใจ” ซึ่งกันและกัน
บทเรียนบทที่ 2. กฎแห่งผลประโยชน์ร่วมกัน เมื่อห่านตัวหนึ่งตัวใด แตกออกจากขบวน มันก็จะรับรู้ได้ทันทีว่า มันบินไปได้ ช้ากว่า และเหนื่อยกว่า ซึ่งมันก็จะไม่ยอมให้เป็นอยู่ เช่นนั้น มันจะรีบกลับเข้าสู่ขบวนเพื่อใช้ความได้เปรียบจาก “แรงลม” ของการบินตามกัน
บทเรียนนี้สอนเราว่า ด้วย ผลประโยชน์ที่ได้รับร่วมกัน จะทำให้แต่ละคนในทีมงาน“ยอมรับ” การ “ทำงานเป็นทีม”ยินยอมว่าจะต้องมี “ผู้นำ” เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายและเต็มใจที่จะรับ ผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนการยอมที่จะให้ความช่วยเหลือต่อทีมด้วย
บทเรียนบทที่ 3. กฎแห่งการสลับสับเปลี่ยนตำแหน่งเมื่อห่านตัวที่รับหน้าที่ “ผู้นำ”รู้สึกเหนื่อยล้ามันจะถอยกลับมาอยู่ในตำแหน่ง “ผู้ตาม” ของขบวนและห่านตัวที่อยู่ด้านหลัง จะบินขึ้นมาทำหน้าที่ “ผู้นำ” แทน
บทเรียนสอนเราว่า ในงานที่ยากลำบากนั้น หากมีการสลับสับเปลี่ยนหน้าที่กันระหว่าง“ผู้นำ” และ “ผู้ตาม”ก็เป็นเรื่องที่มีคุณค่ายิ่ง เพราะการทำงานเป็นทีมนั้นต้องมีการ พึ่งพาทักษะ ความสามารถ พรสวรรค์ตลอดจนถึงการ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน
ยเหลือต่อทีมด้วย
บทเรียนบทที่ 4. กฎแห่งการให้กำลังใจกันและกันเพื่อเป็นการรักษาความเร็วของขบวนในขณะที่ห่านบินอยู่ในขบวนรูปตัว V นั้นพวกมันจะ “ส่งเสียงร้อง” เพื่อ “กระตุ้น”และเพื่อ “ให้กำลังใจ” ห่านตัวที่อยู่ด้านหน้าเสมอๆ
บทเรียนสอนเราว่าในทีมงานที่มีการ ให้กำลังใจซึ่งกันและกันนั้นเราจะพบว่า…สามารถสร้างผลผลิตได้มากกว่าดังนั้น การทำงานเป็นทีมจึงต้องมองหาวิธีการที่จะ “ให้กำลังใจ” ซึ่งกันและกันด้วยเสมอ
ความสามารถ พรสวรรค์ตลอดจนถึงการ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันช่วยเหลือต่อทีมด้วย
บทเรียนบทที่ 5. กฎแห่งการร่วมทุกข์ร่วมสุข เมื่อห่านตัวหนึ่งตัวใด ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บ“ห่านอีกสองตัว” จะแยกออกจากขบวนและบินตามลงไปเพื่ออยู่ช่วย ปกป้องกันภัย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับห่านตัวนั้น
จนกว่า ห่านตัวนั้นจะ ตายหรือแข็งแรงพอที่จะบินได้อีกครั้งพวกมันจึงจะพากันบินขึ้นมาใหม่ เพื่อเข้าขบวน หรือรีบตามขบวนของมันไป
างผลผลิตได้มากกว่าดังนั้น การทำงานเป็นทีมจึงต้องมองหาวิธีการที่จะ “ให้กำลังใจ” ซึ่งกันและกันด้วยเสมอ
ความสามารถ พรสวรรค์ตลอดจนถึงการ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันช่วยเหลือต่อทีมด้วย
บทเรียนสอนเราว่า…ในการทำงานเป็นทีมนั้นสิ่งสำคัญก็คือ การยืนอยู่เคียงข้างกันทั้งในยามทุกข์ และยามสุขเพราะ “ทุกคน” คือ “ทีม”ด้วย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับห่านตัวนั้น
จนกว่า ห่านตัวนั้นจะ ตายหรือแข็งแรงพอที่จะบินได้อีกครั้งพวกมันจึงจะพากันบินขึ้นมาใหม่ เพื่อเข้าขบวน หรือรีบตามขบวนของมันไป
ทางผลผลิตได้มากกว่าดังนั้น การทำงานเป็นทีมจึงต้องมองหาวิธีการที่จะ “ให้กำลังใจ” ซึ่งกันและกันด้วยเสมอ
ความสามารถ พรสวรรค์ตลอดจนถึงการ แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน