ความรู้เกี่ยวกับงานบริการวิชาการแก่สังคม
การบริการวิชาการแก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันพึงให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดและในด้านที่สถาบันมีความเชี่ยวชาญ การให้บริการทางวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรืออาจคิดค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะชุมชน และสังคมโดยกว้าง รูปแบบการให้บริการทางวิชาการมีความหลากหลาย เช่น การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรของสถาบัน เป็นแหล่ งอ้างอิงทางวิชาการให้คำปรึกษา ให้การอบรม จัดประชุมหรือสัมมนาวิชาการ ทำงานวิจัยเพื่อตอบคำถามต่างๆ หรือเพื่อชี้แนะสังคม การให้บริการทางวิชาการนอกจากเป็นการทำประโยชน์ให้สังคมแล้ว สถาบันยังได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ คือ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์อันจะนำมาสู่การพัฒนาหลักสูตร มีการบูรณาการเพื่อใช้ประโยชน์ทางด้านการจัดการเรียนการสอน และการวิจัย พัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์สร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งงานของนักศึกษาและเป็นการสร้างรายได้ของสถาบันจากการให้บริการทางวิชาการด้วย
นโยบายด้านการบริการวิชาการ
การบริการวิชาการแก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักและเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจึงเน้นความสำคัญในการให้บริการแก่ชุมชน สังคมและประเทศชาติการบริการวิชาการอาจจัดโดยให้เปล่าโดยไม่คิดมูลค่าหรืออาจมีค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสมให้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและองค์การอิสระ การบริการวิชาการนอกจากเป็นประโยชน์ให้แก่สังคมแล้วมหาวิทยาลัยยังได้รับการยอมรับจากสังคมภายนอก คือ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์อันจะนำไปสู่การพัฒนาหลักสูตร มีการเชื่อมโยงและบูรณาการประสบการณ์ที่ได้เพื่อไปใช้ประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย พัฒนาตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์และการสร้างเครือข่ายกับภาคส่วนและองค์การต่างๆ
ความหมายของการบริการวิชาการ
การบริการวิชาการแก่สังคม (สกอ.,2553) หมายถึง กิจกรรมหรือโครงการให้บริการแก่สังคมภายนอกสถาบันการศึกษา หรือเป็นการบริการที่จัดในสถาบันการศึกษาโดยมีบุคคลภายนอกเข้ามาใช้บริการ
การให้บริการวิชาการ (สมศ.,2554) หมายถึง การที่สถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งอยู่ในฐานะที่เป็นที่พึ่งของชุมชนหรือสังคม เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการหรือทำหน้าที่ใดที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนในด้านวิชาการหรือการพัฒนาความรู้ตลอดจนความเข้มแข็งประเทศชาติและนานาชาติ การบริการวิชาการเป็นการบริการที่มีค่าตอบแทนและบริการวิชาการให้เปล่า โดยมีการนำ ความรู้และประสบการณ์มาใช้พัฒนาหรือบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนและการวิจัยโครงการที่มีผลต่อการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หมายถึง โครงการที่สถาบันจัดขึ้น เพื่อพัฒนาชุมชนหรือองค์กรภายนอกและเมื่อดำเนินการแล้ว มีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แก่ชุมชนหรือองค์กรภายนอกในด้านต่างๆ หรือทำให้ชุมชนหรือองค์กรภายนอกสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามศักยภาพของตนเอง
ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม
การบริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันจึงกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการบริการทางวิชาการอย่างเป็นระบบ และมีการจัดโครงสร้างสถาบันเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนระบบดังกล่าว การให้บริการทางวิชาการต้องมีความเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย และสามารถบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม
แนวปฏิบัติในการบริหารโครงการ/กิจกรรมการบริการวิชาการ
1. การให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานและบุคคลทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย จะต้องผ่านกลไกการบริหาร และกระบวนการดำเนินงานของคณะวิชาหรือหน่วยงาน ซึ่งมีผู้รับผิดชอบในรูปคณะกรรมการบริหารที่เรียกว่า คณะกรรมการบริหารโครงการบริการวิชาการ
2. การพิจารณารับงาน ให้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ดังนี้ 2.1 เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถทางวิชาการที่คณะวิชา/หน่วยงานที่รับผิดชอบและอยู่ในวิสัยและความสามารถที่คณะวิชา/หน่วยงานจะดำเนินการให้ลุล่วงสำเร็จประโยชน์ได้ 2.2 เป็นงานที่มีอยู่ในแผนดำเนินการหรือมีความสอดคล้อง 2.3 เป็นงานที่ได้รับค่าตอบแทน หรือค่าบริการเพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือเป็นงานที่อธิการบดีสั่งการหรืออนุมัติให้ดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ 2.4 การจัดทำโครงการบริการวิชาการแก่สังคม จะต้องจัดทำเป็นโครงการเสนอต่ออธิการบดีเพื่อพิจารณาอนุมัติ 2.5 โครงการบริการวิชาการใดที่จัดทำต่อเนื่อง โดยมีอัตราจัดเก็บค่าบริการ และการบริหารงบประมาณ การกำหนดค่าใช้จ่าย และการแบ่งสัดส่วนรายได้ตอบแทนไม่เปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญให้ขออนุมัติอธิการบดีเพียงครั้งแรกครั้งเดียว
ลักษณะและขอบเขตของการบริการวิชาการแก่สังคม
ดำเนินการบริการวิชาการตามเกณฑ์ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้กำหนดลักษณะและขอบเขตของการบริการวิชาการและวิชาชีพ ดังนี้ 1. บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบและตรวจซ่อม 2. บริการเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ทางการศึกษา 3. บริการจัดฝากอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการแบบเก็บค่าลงทะเบียน 4. บริการจัดฝากอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการแบบให้เปล่า 5. บริการจัดฝากอบรม สัมมนา และประชุมเชิงปฏิบัติการในลักษณะการว่าจ้าง 6. บริการเกี่ยวกับสุขภาพที่นอกเหนือจากหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 7. บริการศึกษา วิจัย สำรวจ การวางแผน การจัดการ 8. บริการศึกษาความเหมาะสมของโครงการการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม 9. บริการวางระบบ ออกแบบ สร้าง ประดิษฐ์ และผลิต 10.บริการอื่นๆ ทั้งนี้ไม่นับรวมการเป็นวิทยากรที่ไม่ได้อยู่ในแผนของสถาบัน
ลักษณะของกิจกรรม/โครงการการบริการวิชาการแก่สังคม
1. กิจกรรม/โครงการที่ขอใช้งบประมาณบริการทางวิชาการ ต้องเป็นกิจกรรม/โครงการที่มีลักษณะตามนิยามที่ สมศ.และ สกอ. กำหนด 2. กลุ่มเป้าหมายของการให้บริการวิชาการ ได้แก่ กลุ่มลูกค้าซึ่งในที่นี้เรียกว่า ผู้มีส่วนได้เสีย(Stakeholders) ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีอยู่ ด้วยกัน 7 กลุ่ม ได้แก่ 2.1 นักศึกษาปัจจุบัน 2.2 บุคลากรภายใน 2.3 ศิษย์เก่า 2.4 ตลาดแรงงาน 2.5 รัฐบาล 2.6 สังคมและชุมชน 2.7 ผู้ให้การสนับสนุนด้านการเงิน
3. มหาวิทยาลัยมีนโยบายที่เน้นการบริการวิชาการแบบบูรณาการให้การบริการวิชาการมีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 4. สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ อาจจัดขึ้นในมหาวิทยาลัยหรือจัดขึ้นในพื้นที่ได้ 5. ในการจัดโครงการบริการวิชาการ ควรศึกษาความต้องการของกลุ่มมีเป้าหมายก่อน เพื่อให้โครงการต่างๆ สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง 6. กิจกรรม/โครงการบริการวิชาการ อาจเป็นโครงการแบบให้เปล่า โครงการที่เก็บค่าลงทะเบียนบางส่วน หรือเป็นโครงการที่เก็บค่าลงทะเบียนเต็มจำนวน เป็นโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภายในของมหาวิทยาลัย หรือเป็นโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับองค์กรหรือหน่วยงานภายนอกก็ได้
แนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานด้านการบริการวิชาการ
1. ระบบและกลไกการบริการทางวิชาการ 1.1 มีระบบและกลไกการบริการทางวิชาการแก่สังคม และดำเนินการตามระบบที่กำหนดมีการวางแนวทาง ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ของการให้บริการวิชาการด้านต่างๆ ที่สัมพันธ์กับพันธกิจของสถาบัน มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนและจูงใจให้อาจารย์บุคคลทุกระดับมีความพร้อมทั้งในด้านความรู้ ความเชี่ยวชาญ เวลาและจิตแห่งบริการ (service mind) ในการให้บริการวิชาการแก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสถาบัน กำหนดภาระงานของอาจารย์และบุคลากรให้ชัดเจน โดยมีระบบการเทียบเคียงและทดแทนระหว่างภาระงานด้านต่างๆ ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรสนใจในการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน สังคม ตามความถนัดและจุดเน้นของสถาบันในการให้บริการทางวิชาการนี้ ควรมีการวางแผน ตรวจสอบ ติดตาม ประเมิน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพของการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.2 มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนมีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการกับกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานประจำด้านอื่นๆ ของอาจารย์และบุคลากร เช่น การกำหนดให้นักศึกษานำความรู้ไปจัดทำเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน 1.3 มีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการวิจัยมีการบูรณาการงานบริการทางวิชาการกับการวิจัยอย่างเป็นระบบ เช่น 1) มีการนำผลการวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์จริงที่ตอบสนองความต้องการของทุกภาคส่วนในทุกระดับ และ 2) นำความรู้ประสบการณ์จากการให้บริการกลับมาพัฒนาต่อยอดไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ผ่านกระบวนการวิจัย เป็นต้น 1.4 มีการประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัยจัดให้มีระบบติดตาม ประเมินผลความสำเร็จของการบูรณาการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัย โดยให้มีส่วนร่ วมของผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และนักศึกษา ซึ่งเป็นทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ทั้งในระดับแผนการดำเนินงาน เป้าหมายของสถาบัน ความร่วมมือร่วมใจของบุคลากร คุณภาพของบุคลากร คุณภาพของการให้บริการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่สถาบันกำหนดไว้
1.5 มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการงานบริการทางวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอนและการวิจัยสถาบันนำผลการประเมินไปพัฒนาแผน พัฒนากระบวนการและผลสัมฤทธิ์ที่ได้อย่างสม่ำเสมอและเป็นรูปธรรม
2. กระบวนการบริการทางวิชาการให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
2.1 มีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ เพื่อประกอบการกำหนดทิศทางและการจัดทำแผนการบริการทางวิชาการตามจุดเน้นของสถาบันมีการสำรวจความต้องการของชุมชน หรือภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือหน่วยงานวิชาชีพ เพื่อประกอบการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ทิศทางและการจัดทำแผนการบริการทางวิชาการตามจุดเน้นและความเชี่ยวชาญของสถาบัน
2.2 มีความร่วมมือด้านบริการวิชาการเพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน หรือภาคเอกชน หรือภาครัฐ หรือหน่วยงานวิชาชีพสถาบันมีการเชิญหรือเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนร่วมจากชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพที่จะให้บริการมาร่วมมือรวมพลัง (Collaboration) ในลักษณะของการสร้างเครือข่าย (Networking) ระหว่างบุคคลหรือหน่วยงานในรูปแบบต่างๆ เช่น ความร่วมมือกับสถานประกอบการในการนำผลการวิจัยไปเป็นส่วนหนึ่งของการปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้น หรือไปใช้พัฒนาบุคลากรของสถานประกอบการหรือส่วนการผลิต มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คำปรึกษาแนะนำและจัดให้มีช่องทางในการสื่อสาร ทำความเข้าใจร่วมกันในภาคอุตสาหกรรมหรือริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมใหม่ๆ ในชุมชน
2.3 มีการประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคมมีการประเมินประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการต่อสังคมว่า สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการทั้งทางตรงและทางอ้อม มีการประเมินผลที่เกิดกับนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรผู้ให้บริการ ทั้งในด้านการนำความรู้ความเชี่ยวชาญ ไปใช้ประโยชน์ การสื่อสาร การชี้แจงแนะนำให้ผู้รับบริการและประชาชน
2.4 มีการนำผลการประเมินในข้อ 2.3 ไปพัฒนาระบบและกลไก หรือกิจกรรมการให้บริการทางวิชาการมีการนำผลการประเมินการให้บริการทางวิชาการไปพัฒนาคุณภาพมาตรฐานของการให้บริการ มีระบบและกลไกการให้บริการ ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบการให้บริการ ขอบเขตการให้บริการค่าใช้จ่ายระยะเวลาในการให้บริการ สัญญาการบริการ ซึ่งรวมทั้งการควบคุมและการกำกับคุณภาพ
ของการให้บริการ โดยจัดให้มีระบบให้ข้อมูลที่ชัดเจน มีความเป็นธรรมโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
2.5 มีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดความรู้สู่บุคลากรภายในสถาบันและเผยแพร่สู่สาธารณชนสถาบันมีการพัฒนาความรู้ที่ได้จากการให้บริการทางวิชาการ ส่งเสริมให้เกิดกระบวนการในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่บุคลากรภายในสถาบัน ซึ่งรวมทั้งผู้เรียนด้วย จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดและเผยแพร่ประสบการณ์ในการให้บริการผ่านทางสื่อการเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลการบริการวิชาการเผยแพร่สู่สาธารณะชนในการให้บริการทางวิชาการในลักษณะห่วงโซ คุณภาพที่สนองความต้องการและเป็นที่พึ่งของชุมชน ภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานวิชาชีพสังคมได้อย่างมีคุณภาพตามศักยภาพและความพร้อมตามจุดเน้นของสถาบัน พิจารณาได้จาก (1) ประโยชน์หรือผลกระทบของการให้บริการทางวิชาการ (2) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และ (3) ความรู้ที่เกิดจากการให้บริการทางวิชาการและการเผยแพร่ความรู้นั้นภายในและภายนอกสถาบัน