การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง การเตรียมข้อมูลสำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2558
กรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร
ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 14 ตัวชี้วัด ดังนี้ | |
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน | มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้ |
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต | มีจำนวน 2 ตัวบ่งชี้ |
องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา | มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ |
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ | มีจำนวน 3 ตัวบ่งชี้ |
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน | มีจำนวน 4 ตัวบ่งชี้ |
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ | มีจำนวน 1 ตัวบ่งชี้ |
————————————————————————————————————————————————
เกณฑ์การประเมิน | ป.ตรี | หมายเหตุ |
1. จำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร | - ไม่น้อยกว่า 5 คน
- เป็นอาจารย์ประจำเกินกว่า 1 หลักสูตรไม่ได้ และประจำหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรนั้น |
- อาจารย์ประจำสามารถเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรที่เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ ได้อีก 1 หลักสูตร โดยต้องเป็นหลักสูตรที่ตรงหรือสัมพันธ์กับหลักสูตรที่ได้ประจำอยู่แล้ว
- กรณีหลักสูตรปริญญาตรีที่มีแขนงวิชา/กลุ่มวิชาชีพกำหนดให้ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ให้ครบทุกแขนงวิชา/กลุ่มวิชาของหลักสูตร โดยมีคุณวุฒิครอบคลุมแขนงวิชา/กลุ่มวิชาที่เปิดสอน |
2. คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร | - คุณวุฒิปริญญาโทหรือเทียบเท่า หรือมีตำแหน่งทางวิชาการไม่ต่ำกว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เปิดสอน อย่างน้อย 2 คน | |
3.การปรับปรุงหลักสูตรตามรอบระยะเวลาที่กำหนด | - ต้องไม่เกิน 5 ปี (จะต้องปรับปรุงให้เสร็จและอนุมัติ/ให้ความเห็นชอบโดยสภามหาวิทยาลัย/สถาบัน เพื่อให้หลักสูตรใช้งานปีที่ 6
หมายเหตุ : สำหรับหลักสูตร 5 ปี ประกาศใช้ในปีที่ 7 หรือหลักสูตร 6 ปี ประกาศใช้ในปีที่ |
|
4. การดำเนินงานให้เป็นไปตามตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานเพื่อการประกันคุณภาพหลักสูตรและการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ | - ตัวบ่งชี้ TQF ข้อ 1-5 ต้องดำเนินการทุกตัว |
————————————————————————————————————————————————-
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดย สกอ.
- ใช้ข้อมูลของกองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- เก็บข้อมูลบัณฑิต ปีการศึกษา 2557
- จำนวนบัณฑิตที่รับการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตจะต้องไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 ของจำนวนบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา
- กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ได้กำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามหลักสูตรกำหนดไว้ใน มคอ. 2 ซึ่งครอบคลุมผลการเรียนรู้อย่างน้อย 5 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
————————————————————————————————————————————————–
ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 คุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
- ใช้ข้อมูลของกองแผนงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- เก็บข้อมูลบัณฑิต ปีการศึกษา 2557 ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรปกติ ภาคพิเศษ และภาคนอกเวลาในสาขานั้นๆ ที่ได้งานทำหรือมีกิจการของตนเองที่มีรายได้ประจำภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่สำเร็จการศึกษาเมื่อเทียบกับบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษานั้น
- คิดเป็นร้อยละ แล้วแปลงค่าร้อยละเป็นคะแนน (กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100)
*** การคำนวณค่าร้อยละ ไม่นำบัณฑิตที่ศึกษาต่อ เกณฑ์ทหาร อุปสมบท และบัณฑิตที่มีงานทำแล้วแต่ไม่ได้เปลี่ยนงานมาพิจารณา
————————————————————————————————————————————————–
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
- เขียนกระบวนการ ดำเนินงาน ตามหลัก PDCA ตามบริบทของแต่ละหลักสูตรให้ครอบคลุม ประเด็นต่อไปนี้
- การรับนักศึกษา
- การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา
*** การประเมินตนเองว่า อยู่ในระดับใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้ได้นักศึกษาที่มีความพร้อมที่จะเรียนในหลักสูตร
————————————————————————————————————————————————-
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 การรับนักศึกษา
- เขียนกระบวนการ ดำเนินงาน ตามหลัก PDCA ตามบริบทของแต่ละหลักสูตรให้ครอบคลุม ประเด็นต่อไปนี้
- การควบคุมการดูแลการให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักศึกษาปริญญาตรี
- การควบคุมดูแลการให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ แก่บัณฑิตศึกษา
- การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
• มีการวางระบบการป้องกันหรือการบริหารจัดการความเสี่ยงของนักศึกษา เพื่อให้สามารถสำเร็จการศึกษาได้ตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด
** การประเมินตนเองว่า อยู่ในระดับใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้ได้นักศึกษาที่เรียนอย่างมีความสุขและมีทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพในอนาคต
————————————————————————————————————————————————-
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2 การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
- เขียนกระบวนการ ดำเนินงานหรือแสดงผลการดำเนินงานตามหลัก PDCA ตามบริบทของแต่ละหลักสูตรให้ครอบคลุม ประเด็นต่อไปนี้
- การคงอยู่
- การสำเร็จการศึกษา
- ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา
*** การประเมินตนเองให้พิจารณาจากการรายงานผลการดำเนินงาน มีครบทุกเรื่อง และมีผลการดำเนินงานดีขึ้นทุกเรือง หรือไม่
———————————————————————————————————————————————-
ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา
- เขียนกระบวนการ ดำเนินงาน ตามหลัก PDCA ตามบริบทของแต่ละหลักสูตรให้ครอบคลุม ประเด็นต่อไปนี้
- ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
- ระบบการบริหารอาจารย์
- ระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
*** การประเมินตนเองว่า อยู่ในระดับใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้หลักสูตรมีอาจารย์ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในด้านวุฒิการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมให้มีการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของอาจารย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของหลักสูตร
————————————————————————————————————————————————
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 การบริหารและพัฒนาอาจารย์
- Ø ประเด็นในการพิจารณาตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย
- ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป
- ร้อยละของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 60 ขึ้นไป
- ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร
คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป
** กรณี ประเด็นใด ไม่มีผลการดำเนินงาน ให้อธิบายด้วยว่า หลักสูตรมีแผนการพัฒนาในประเด็นนั้นอย่างไร
————————————————————————————————————————————————
ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 คุณภาพอาจารย์
- เขียนกระบวนการ ดำเนินงานหรือแสดงผลการดำเนินงานตามหลัก PDCA ตามบริบทของแต่ละหลักสูตรให้ครอบคลุม ประเด็นต่อไปนี้
- การคงอยู่ของอาจารย์ เปรียบเทียบ 3 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอาจารย์ประจำหลักสูตรทุกปีหรือไม่
- ความพึงพอใจของอาจารย์ต่อการบริหารหลักสูตร
*** การประเมินตนเองให้พิจารณาจากการรายงานผลการดำเนินงาน มีครบทุกเรื่อง และมีผลการดำเนินงานดีขึ้นทุกเรือง หรือไม่
———————————————————————————————————————————————-
ตัวบ่งชี้ที่ 4.3 ผลที่เกิดขึ้นกับอาจารย์
- เขียนกระบวนการ ดำเนินงาน ตามหลัก PDCA ตามบริบทของแต่ละหลักสูตรให้ครอบคลุม ประเด็นต่อไปนี้
- การออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตร
- การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ
* ประเมินในภาพรวมของทั้ง 2 ประเด็น โดยผู้รับผิดชอบหลักสูตรต้องมีการออกแบบหลักสูตร ควบคุมการกำกับการจัดทำรายวิชาต่างๆ ให้มีเนื้อหาที่ทันสมัย ก้าวทันความก้าวหน้าทางวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการบริหารจัดการการเปิดรายวิชาต่างๆ ทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือกที่เน้นนักศึกษาเป็นสำคัญ
*** การประเมินตนเองว่า อยู่ในระดับใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้หลักสูตรมีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความต้องการของประเทศ
———————————————————————————————————————————————–
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 สาระของรายวิชาในหลักสูตร
- เขียนกระบวนการ ดำเนินงาน ตามหลัก PDCA ตามบริบทของแต่ละหลักสูตรให้ครอบคลุม ประเด็นต่อไปนี้
- การกำหนดผู้สอน มีหลักเกณฑ์/แนววิธีการในการกำหนดผู้สอนอย่างไร
- การกำกับ ติดตาม และตรวจสอบการจัดทำแผนการเรียนรู้ (มคอ.3 และ มคอ.4) การจัดการเรียนการสอน
- การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีที่มีการบูรณาการกับการวิจัย การบริการวิชาการทางสังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
v การบูรณาการการเรียนการสอนกับพันธกิจอื่นๆ
1. ต้องมีการวางแผนในหลักสูตรก่อนว่า จะมีรายวิชาใดบ้างที่บูรณาการได้ ไม่จำเป็นต้องทุกวิชา แต่ต้องมีการประชุมวางแผนว่า รายวิชาใดจะบูรณาการกับเรื่องอะไร
2. มีการกำกับติดตามถึงการนำรายวิชาไปบูรณาการด้านอื่นๆ เขียนให้ชัดเจน
*** การประเมินตนเองว่า อยู่ในระดับใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่ทำให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก่อให้เกิดผลการเรียนรู้บรรลุเป้าหมาย
————————————————————————————————————————————————
ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการเรียนการสอน
- เขียนกระบวนการ ดำเนินงาน ตามหลัก PDCA ตามบริบทของแต่ละหลักสูตรให้ครอบคลุม ประเด็นต่อไปนี้
- การประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
- การตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
- การกำกับการประเมินการจัดการเรียนการสอนและประเมินหลักสูตร (มคอ.5 มคอ.6 และมคอ.7)
*** การประเมินตนเองว่า อยู่ในระดับใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่สะท้อนสภาพจริงด้วยวิธีการหรือเครื่องมือประเมินที่เชื่อถือได้ ให้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนและผู้เรียนมีแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
———————————————————————————————————————————————–
ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 การประเมินผู้เรียน
- Ø ผลการดำเนินงานหลักสูตร หมายถึง ร้อยละของผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้การดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาที่ปรากฏในหลักสูตร (มคอ.2) หมวด 7 ข้อ 7 ที่แต่ละหลักสูตรดำเนินการได้ในแต่ละปีการศึกษา โดยจะต้องรายงานผลการดำเนินงานใน มคอ.7
———————————————————————————————————————————————-
ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ผลการดำเนินงานหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
- เขียนกระบวนการ ดำเนินงาน ตามหลัก PDCA ตามบริบทของแต่ละหลักสูตรให้ครอบคลุม ประเด็นต่อไปนี้
- ระบบการดำเนินงานของสาขาวิชา/สำนักวิชา/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
- จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
- กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
*** การประเมินตนเองว่า อยู่ในระดับใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่สะท้อนการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน และส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
———————————————————————————————————————————————–
ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
- เขียนกระบวนการ ดำเนินงาน ตามหลัก PDCA ตามบริบทของแต่ละหลักสูตรให้ครอบคลุม ประเด็นต่อไปนี้
- ระบบการดำเนินงานของสาขาวิชา/สำนักวิชา/สถาบัน โดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
- จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
- กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
*** การประเมินตนเองว่า อยู่ในระดับใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมด ที่สะท้อนการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน และส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ