การคิดเพื่อประสิทธิผลของงาน (Effective Thinking)
การคิด คืออะไร
“การคิด” เป็นกระกวนการทำงานของสมอง ที่เป็นศูนย์กลางนำสัญญาณที่ได้รับรู้จากประสาทสัมผัสทั้งห้า มาประมวลวิเคราะห์ ถอดความ ตีความเพื่อพิจารณาในการตอบสนอง ตัดสินใจ และแปลผลการตัดสินใจเป็นสัญญาณให้มีพฤติกรรมการตอบสนองในทางใดทางหนึ่ง
“การคิด” เป็นทักษะพื้นฐานของมนุษย์ที่สามารถเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาได้ ความสามารถในการคิด เป็นพื้นฐานของสติปัญญาและความเข้าใจ ช่วยในการตัดสินใจ นำมาซึ่งนวัตกรรมใหม่ๆ นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทำให้คนสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ และช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
ความสำคัญของการคิดในบริบทของการทำงาน
“การคิด” หมายถึงความสามารถในการรับมือและตอบสนองกับสภาพแบบต่างๆ หรือการเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าจาภายนอก โดยการใช้ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ + การใช้เหตุผล + ความรู้ / ประสบการณ์ เพื่อให้ทราบถึง การระบุตัวปัญหาและขอบเขต วิเคราะห์สาเหตุ เงื่อนไข ปัจจัยของสภาพปัญหา ระบุทางเลือกในการแก้ไข และตรวจสอบความสามารถในการแก้ไขและตัดสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
การคิดประเด็นต่างๆ ประกอบด้วย
- สมองกับการคิด หน้าที่สำคัญของสมองมี ๕ ประเภท คือ
๑. รับรู้ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น
๒. เก็บความจำ
๓. วิเคราะห์และประมวลข้อมูล
๔. ส่งออกหรือสื่อความ
๕. ควบคุมกับทำงานของอวัยวะต่างๆ
- การคิดเชิงระบบและคิดวิเคราะห์
“ระบบ” คือ ชุดขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อการบรรลุวัถตุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง (System is a set of components that are related in the accomplishment of some purposes)
การคิดเชิงระบบ (System Thinking) “การคิดเชิงระบบ” เป็นการคิดโดยนำหลักการเรื่องระบบมาเป็นแนวทางในการคิด เน้นที่การมองสิ่งต่างๆ ว่าเป็นระบบๆ หนึ่ง ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) “การคิดวิเคราะห์” คือ การจำแนกองค์ประกอบต่างๆ ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เห็นว่าองค์ประกอบอะไรบ้าง แต่ละองค์ประกอบควรมีลักษณะอย่างไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยพิจารณาแต่ละองค์ประกอบดูว่าเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่ และมีการการแก้ไขปัญหาอย่างไร
“การคิดเชิงวิเคราะห์” ก็คือการมองสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบนั่นเอง ต้องอาศัยความสามารถในการคิดเชิงระบบเป็นพื้นฐานที่สำคัญ
การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) “การคิดเชิงกลยุทธ์” เป็นการคิดในภาพองค์รวมของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อที่จะกำหนดเป้าหมายและทิศทางในอนาคตของเรื่องนั้นที่จะต้องสอดคล้องกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
การคิดเชิงเหตุผลหรือเชิงตรรกะ (Rational/Logical Thinking) ตรรกะ คือ หลักการแห่งเหตุผล การคิดเชิงเหตุผลหรือเชิงตรรกะ การคิดเพื่อหาข้อสรุป (Conclusion) ของข้อความ หรือข้อโต้แย้ง (Argument) อย่างสมเหตุสมผล (Valid) โดยอาศัยข้อมูลหรือฐานของสิ่งที่มีมาก่อน (Premises)
การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) การคิดเชิงกลยุทธ์ จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการมองไปข้างหน้าในอนาคต ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก และกำหนดวิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ที่เหมาะสม
การคิดเชิงบวกและเชิงลบ (Positive & Negative Thinking) มีความหมายดังต่อไปนี้
การคิดเชิงบวก
- เป็นการมองโลกในแง่ดี
- ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้ไข
- ในวิกฤติยังมีโอกาส
- ทำให้เกิดกำลังใจ ความพยายาม
การคิดเชิงลบ
- เป็นการมองโลกในแง่ร้าย
- มองเห็นจุดอ่อน/ข้อเสียในทุกเรื่อง
- ทำให้เกิดความรอบคอบและระมัดระวัง
การคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)
- ทำให้เกิดสิ่งแปลกใหม่ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
- เป็นการขยายขอบเขตความคิดเดิมออกไปนอกกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่
- เป็นการนำเอาความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่สั่งสมไว้มาพัฒนา ค้นหาวิธีการที่แปลกใหม่ในการแก้ไขปัญหา
การคิดเชิงจริยธรรม ในหลายสถานการณ์ การคิดและตัดสินใจเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม ความถูกต้อง ดังนั้น จึงต้องมีการใช้เหตุผลในเชิงจริยธรรมในการคิด
การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของคนเรา แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ
๑. ระดับก่อนเกณฑ์
- ขั้นที่ ๑ เชื่อฟังคำสั่ง หลบหลีกการลงโทษ
- ขั้นที่ ๒ แสวงหารางวัล
๒. ระดับตามเกณฑ์
- ขั้นที่ ๓ ทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ
- ขั้นที่ ๔ ทำตามหน้าที่ทางสังคม
๓. ระดับเหนือเกณฑ์
- ขั้นที่ ๕ ยึดประโยชน์และความถูกต้องเฉพาะเรื่อง
- ขั้นที่ ๖ ยึดอุดมคติสากล
มีผู้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในคนไทย พบว่า สามารถแบ่งออกได้เป็น ๔ ระดับ คือ
ระดับที่ ๑ เพื่อประโยชน์ของตนเอง
ระดับที่ ๒ ทำเพื่อผู้อื่นในวงแคบ
ระดับที่ ๓ เพื่อประโยชน์ของสังคม
ระดับที่ ๔ อุดมการณ์สากล
๔. เครื่องมือที่ช่วยในการคิด ประกอบไปด้วย
- แผนที่ความคิด Mind Mapping
- ผังก้างปลา Fishbone Diagram
- การวิเคราะห์แรงผลัก/แรงต้าน Force Field Analysis
- การวิเคราะห์จุดอ่อน/จุดแข็ง โอกาส/ข้อจำกัด SWOT Analysis
- ตารางการตัดสินใจ Decision Matrix
แผนที่ความคิด Mind Mapping พัฒนาขึ้นโดย Tony Buzan เป็นเครื่องมือช่วยในการเชื่อมโยง จัดหมวดหมู่ จัดระบบความคิด โดย
๑. เริ่มต้นจาการกำหนดหัวข้อ หรือแก่นของความคิด จากจุดศูนย์กลางของหน้ากระดาษ
๒. คิดประเด็นหลัก แยกเป็นกิ่งออกมาจากจุดศูนย์กลาง
๓. แยกกิ่งก้านสาขาความคิดที่เชื่อมโยงกันออกมาเป็นกิ่งย่อยๆ เป็นลำต้นไป
๔. แผนที่ความคิด (Mind Mapping)
ข้อดีและข้อจำกัดของแผนที่ความคิด (Mind Mapping)
ข้อดี
- สามารถเห็นประเด็นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในหน้าเดียว
- เป็นการนำเสนอในลักษณะที่เป็นแผนที่ภาพและข้อความหลัก
- ทำให้เห็นความเชื่อมโยงของแต่ละประเด็น
- ทำให้ความคิดแตกกระจายออกไปอย่างกว้างขวาง
ข้อจำกัด
- ไม่แสดงความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล
- อาจมีประเด็นย่อยที่ซ้ำกันได้
ผังก้างปลา (Fishbone Diagram) พัฒนาขึ้นโดยชาวญี่ปุ่นชื่อ Dr.Ishikawa เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาอย่างเป็นระบบโดยแยกเป็นสาเหตุใหญ่และสาเหตุย่อยลงไปเรื่อยๆ ตามเหตุและผล ผังก้างปลา ใช้วิธีการคิดโดยจะอาศัยการใช้คำถาม “ทำไม” เป็นหลัก เพื่อให้ได้คำตอบที่เป็นสาเหตุของปัญหาที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม
สาเหตุหลักของ ผังก้างปลา (Fishbone Diagram) มีข้อดี และข้อจำกัด ดังนี้
ข้อดี
- ความคิดเป็นระบบไม่กระจัดกระจาย
- ได้เห็นความสัมพันธ์เชิงเหตุผลชัดเจน
- สามารถมองเห็นภาพรวมของปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
ข้อจำกัด
- ความคิดจะถูกจำกัดกรอบตามก้างใหญ่ที่กำหนดไว้
- ต้องอาศัยความสามารถในการจัดกลุ่มของสาเหตุซึ่งอาจเป็นไปตามความรู้สึก
- ไม่ได้แสดงให้เห็นน้ำหนักของสาเหตุต่างๆ
การวิเคราะห์จุดอ่อน/จุดแข็ง โอกาส/ข้อจำกัด SWOT Analysis
การวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์จุดแข็ง – จุดอ่อน โอกาส – ข้อจำกัด เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกของประเด็น/เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทั้งในปัจจุบันและที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้ทราบว่า
๑. มีปัจจัยภายในเรื่องใดบ้างที่เป็นจุดแข็ง
๒. ปัจจัยใดเป็นจุดอ่อน
๓. ปัจจัยภายนอกเรื่องใด เป็นโอกาส
๔. ปัจจัยใดเป็นข้อจำกัด
ผลการวิเคราะห์นี้จะนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการจัดการกับประเด็น/ เรื่องนั้นโดยเลือกที่จะ เสริมสร้าง “จุดแข็ง” กำจัด “จุดอ่อน” ฉกฉวย “โอกาส” และหลีกเลี่ยง “ข้อจำกัด”
ข้อดีของการวิเคราะห์ SWOT คือ
ข้อดี
- เห็นความแตกต่างระหว่างปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
ข้อจำกัด
- ต้องมีความชัดเจนในการระบุว่าปัจจัย แต่ละปัจจัยมีผลอย่างไรต่อเรื่องที่วิเคราะห์นั้น
การพัฒนาทักษะการคิด การพัฒนาทักษะการคิดของตนเอง หมายถึง
- ตั้งเป้าหมายและมีความมุ่งมั่น
- เปิดใจให้กว้าง รับความคิดใหม่ๆ ขจัดความเชื่อ ความคิดเก่า ๆ
- ฝึกใจให้มีสมาธิ
- ฝึกเป็นคนข่างสังเกต ช่างสงสัย อาทิ
๑. ฝึกหัดสายตา
๒. ฝึกการกะระยะ/ขนาด/จำนวน/น้ำหนักและเวลา
๓. ฝึกการฟัง
๔. ฝึกตั้งคำถามบ่อยๆ และคิดหาคำตอบ
๕. การรับฟังคนอื่นให้มากขึ้น
๖. ฝึกการจดบันทึก
การพัฒนาทักษะความคิดให้กับสมาชิกขององค์กร
- ประชุมระดมความคิดเห็นร่วมกัน มีการเรียนรู้ร่วมกัน
- เสริมสร้างพัฒนาสมรรถนะของบุคลากร
- สนับสนุนทีมงานให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- สร้างแรงจูงใจให้แก่สมาชิกในองค์กรที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานใหม่ ๆ
- บูรณาการการคิดให้เกิดประสิทธิผล
หมวกทั้ง 6 สี คือ รูปแบบการคิดหกแบบ มีลักษณะดังนี้
- หมวกสีขาว เป็นการคิดถึงข้อมูล/ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เรียนรู้จากข้อมูล/ข่าวสาร การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และเรียนรู้จากประวัติศาสตร์/สิ่งที่เคยเกิดขึ้นแล้วหรือสิ่งที่มีอยู่
- หมวกสีเหลือง เป็นการคิดเชิงบวก มองในแง่ดี ช่วยให้เห็นประโยชน์และคุณค่าของการตัดสินใจ เพิ่มความมั่นใจและทำให้มองเห็นช่องทางเมื่อถึงมุมอับ
- หมวกสีดำ เป็นการมองข้อเสีย/แง่ลบของการตัดสินใจ พิจารณาด้วยความรอบคอบระมัดระวัง คิดถึงว่าทำไมถึงไม่ได้ผล ช่วยให้เข้าใจจุดอ่อนของแผนขจัดปรับเปลี่ยนและเตรียมแผนฉุกเฉินไว้รองรับเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น ช่วยให้แผนครอบคลุมสมบูรณ์ แข็งแกร่งขึ้น และกำจัดจุดอ่อนก่อนที่จะเกิดขึ้น
- หมวกสีแดง เป็นการพิจารณาปัญหาโดยใช้สัญชาติญาณ อารมณ์ และความรู้สึก พยายามเข้าใจคำตอบของคนที่ใช้สัญชาติญาณและความรู้สึก
- หมวกสีเขียว เป็นการคิดอย่างสร้างสรรค์ หาทางแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ใช้ความคิดอย่างอิสระ ไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ความคิด เพื่อให้ได้ความคิดวิธีดำเนินการและทางออกจำนวนมาก
- สีฟ้า เป็นการวางแผนและควบคุมความผิด กระตุ้นให้เกิดความคิดเพิ่มขึ้นเมื่อเกิดการชะงักงัน ประเมินสถานการณ์จัดระบบและกำกับ เป็นบทบาทของผู้เป็นประธาน
แนวทางการบูรณาการการคิดในการบริหารจัดการ ทบทวน ภารกิจ/วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหรือการคงอยู่ เพื่อให้ทราบว่าภารกิจและวัตถุประสงค์หลักของหน่วยงานที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ต้น คือ อะไร ขั้นตอนนี้จะต้องใช้ความคิดในเชิงระบบ มองหน่วยงานที่กำลังพิจารณาเป็นระบบๆ หนึ่ง ที่เกิดขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะของการคงอยู่ และมีภาระ หน้าที่ที่จะตอบสนองต่อวัตถุประสงค์นั้น เมื่อทราบว่า ภารกิจและวัตถุประสงค์หลักที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่ต้น คือ อะไรแล้วก็จะต้องตรวจสอบว่าสิ่งที่ทำไปแล้ว เป็นภารกิจที่ตรงตามภารกิจที่กำหนดไว้หรือไม่ และผลสำเร็จของงานหลักๆ ที่สำคัญ เป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ภารกิจที่ทำเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
ถ้าใช่ ผลงานเป็นไปตามที่คาดหวังไว้หรือไม่
ถ้าไม่ใช่ เราควรจะปรับภารกิจที่ดำเนินการเสียใหม่หรือไม่ อย่างไร
แนวทางการบูรณาการการคิดในการบริหารจัดการ
ศึกษาความต้องการ/ความคาดหวัง ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นผู้ได้รับ/เสียประโยชน์ จากการดำเนินงานขององค์กร/หน่วยงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานขององค์กร/หน่วยงานในอนาคต วิเคราะห์แรงผลัก แรงต้าน ในการดำเนินงานขององค์กร/หน่วยงาน เพื่อให้ทราบว่าเหตุใดการดำเนินงานที่ผ่านมา จึงบรรลุผลได้ในระดับปัจจุบัน รวมถึงพิจารณาเลือกทางเลือกใดที่ควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กร/หน่วยงาน โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการปฏิบัติ ความประหยัด และผลกระทบ ในทางลบ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ใหม่ได้
การจัดทำแผนพัฒนาองค์กร/หน่วยงาน ต้องมีส่วนประกอบเหล่านี้
- โครงการพัฒนา
- วัตถุประสงค์
- ตัวชี้วัด
- ผู้รับผิดชอบ