การทำวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียน เป็นกระบวนการหนึ่งเพื่อการแสวงหาความูร้ การเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างมีหลักการ อาศัยเนื้อหาและกระบวนการอย่างเป็นระบบในการรวบรวมวิเคราะห์ เป็นการศึกษาค้นคว้าที่สะท้อนตัวครูผู้สอนและกลุ่มผู้ร่วมปฏิบัติงานในสถานการณ์สังคม เพื่อค้นหาลักษณะที่เหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานให้สอด คล้องกับภาวะของสังคมหรือสถานการณ์ ด้วยความร่วมมือของเพื่อนครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง ตลอดจนสมาชิกในสังคมที่เกี่ยวข้อง มีจุดมุ่งหมายเพื่อพินิจพิเคราะห์การกระทำของตนเองและกลุ่ม เพื่อพัฒนาเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรการสอนและการเรียนรู้ อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงแบบมีแผน ดังนั้น การวิจัยในชั้นเรียน จึงไม่ใช่เป็นเพียงการแก้ปัญหา แต่จะเป็นการตั้งปัญหาจากแรงกระตุ้นของผู้วิจัยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงพัฒนา แล้วปฏิบัติสังเกต สะท้อนกลับเป็นวัฏจักรของการวิจัยที่หมุนไปเรื่อย ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและสร้างภาพลักษณ์ของการเรียนการสอนให้มี คุณภาพยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร เกี่ยวกับการทำวิจัยในชั้นเรียนในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ – ชุมพร ให้มีคุณภาพยิ้งขึ้นโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ ในการสร้างความรู้ ประสบการณ์ และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเพื่อให้การจัดทำวิจัยในชั้นเรียนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้- ชุมพรไปในทิศทางเดียวกัน
การวิจัยในชั้นเรียน เป็นการวิจัยเพื่อหานวัตกรรมสำหรับแก้ปัญหาหรือเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้ เรียน ซึ่งเน้นในลักษณะการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยมีปัญหาการเรียนรู้เป็นจุดเริ่มต้น ผู้สอนหาวิธีการ หรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา มีการสังเกตและตรวจสอบผลของการแก้ปัญหา/การพัฒนา แล้วจึงบันทึกและสะท้อนการแก้ปัญหาหรือการพัฒนานั้นๆ การวิจัยในชั้นเรียนมักเป็นการวิจัยขนาดเล็ก (Small scale) ที่ดำเนินการโดยผู้สอน เป็นกระบวนการที่ผู้สอนสะท้อนการปฏิบัติงาน และเสริมพลังอำนาจให้ครูผู้สอน (อ้างถึงในสุภัทรา เอื้อวงศ์, 2554.)
ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน
การวิจัยในชั้นเรียนนั้นมุ่งแก้ปัญหาและ/หรือ พัฒนางานที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งต้องบังเกิดประโยชน์แก่นักเรียนให้ในการพัฒนาการเรียนรู้อยู่แล้ว และต้องส่งผลต่อผลงานของครูผู้สอนและโรงเรียนตามมา และนอกจากนี้การวิจัยในชั้นเรียนนี้ยังสอดคล้องกับแนวทางของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 24(5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากการเรียนการสอนและแหล่ง วิทยาการประเภทต่างๆ มาตรา 30 ส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน ในแต่ละระดับการศึกษาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ได้กล่าวถึงการวิจัย ในกระบวนการจัดการศึกษา ของผู้เกี่ยวข้อง ดังเช่น ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้ เรียน..ให้ผู้สอนนำกระบวนการวิจัยมาผสมผสาน
บูรณาการใช้ในการจัดการ เรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สามารถใช้กระบวนการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนรู้ ด้วย
ประโยชน์ของการวิจัยในชั้นเรียน
- ปรับปรุง พัฒนาวิธีการปฏิบัติงานการเรียนรการสอนใช้วิจัยเป็นฐาน
- กลยุทธ์สร้างความเข้มแข็งของศาสตร์การสอนวิชาชีพครู
ความรู้เดิม F ความรู้ ข้อค้นพบใหม่ในบริบทการจัดการความรู้
- พัฒนาครูให้มีจิตวิจัย วิธีคิดเชิงระบบ ทักษะการแก้ปัญหา เปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนการสอน
- พัฒนาภาะผู้นำการเรียนรู้ (Learning leadership) องค์กรการเรียนรู้
1. ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
ตัวอย่างการวิจัยจากนักวิชาการที่ได้รับความนิยม มี 2 ท่าน ดังนี้Freeman. 1998,(อ้างถึงในสุธาสินี บุญญาพิทักษ์ออนไลน์ 2554) ได้อธิบายขั้นตอนการทำวิจัยในชั้นเรียน เป็น 6 ขั้นตอนอันประกอบด้วย
1. ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับสภาพที่เกิดขึ้น
2. กำหนดคำถามวิจัย
3. รวบรวมข้อมูล
4. วิเคราะห์ข้อมูล
5. ทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น
6. เผยแพร่ข้อค้นพบ
ส่วน วิชิต สุรัตน์เรืองชัย, (2546) ได้กล่าวถึงขั้นตอนเฉพาะของการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยกล่าวถึงขั้นปฏิบัติจริงที่ปรับจากขั้นตอนทั่วไป เป็น 7 ขั้น ดังนี้
1.กำหนดปัญหา -ประเด็นปัญหา
2.ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น -บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหา
3.วางแผนปฏิบัติ -กำหนดทางเลือกหลากหลาย
4.ปฏิบัติตามแผน
5.สังเกตผล
6.สรุปผล
7.สะท้อนผล